วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Computer Graphic กับ การปฏิบัติการค้นหา และช่วยเหลือ "ทีมหมูป่า"

Computer Graphic กับ การปฏิบัติการค้นหา และช่วยเหลือ "ทีมหมูป่า"

เทคโนโลยี Computer Graphic กับ การปฏิบัติการ ( Operations ) เป็นสิ่งจำเป็นในการจำลองพื้นที่ปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการรบทางทหาร หรือการปฏิบัติการเพื่อค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และการวางแผนปฏิบัติการ ตลอดจนการจำลองแผนการปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติค้นหา และช่วยเหลือน้องๆ ทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ต่างประเทศมักจะให้ความสำคัญลำดับแรกกับการนำเทคโนโลยีด้าน Computer Graphic มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการแทบทั้งสิ้น เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ความซับซ้อนของพื้นที่ ปัญหาอุปสรรค และความยากลำบากในการปฏิบัติงานอย่างกระจ่างชัด เพื่อจะได้สามารถวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และวางแผนปฏิบัติการขั้นต้นว่าจะปฏิบัติด้วยวิธีการหรือหนทางปฏิบัติใดดีที่สุด จะต้องวางการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องไม้อะไร? จำนวนเท่าใด? ที่ไหน? อย่างไร? เพื่อให้การเตรียมการปฏิบัติการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย และรวดเร็ว จะเห็นได้จากระยะเวลาในการวางแผนและการปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าในครั้งนี้รวดเร็วมาก

เทคโนโลยีด้าน Computer Graphic ในบ้านเรามักจะนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในด้านงานสื่อสารมวลอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคข่าวสารเกิดความเข้าใจง่ายขึ้น มีความน่าสนใจ เร้าใจ และเกิดแรงดึงดูดในการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญประชาชนผู้บริโภคข่าวสารทุกเพศทุกวัยเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก ความตื่นตัว และนำไปสู่การเรียนรู้จากบทเรียนของเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การจำลองการปฏิบัติเสมือนจริงหรือการทดสอบการเคลื่อนย้ายตามแผน เป็นสิ่งจำเป็น !

การจำลองการปฏิบัติเสมือนจริงหรือการทดสอบการเคลื่อนย้ายตามแผน เป็นสิ่งจำเป็น !

การปฏิบัติการช่วยเหลือเพื่อนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว ภายในถ้ำเขาหลวง ระยะทาง กว่า 10 กม. ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางการดำน้ำในโพรงถ้ำใต้น้ำแคบๆ ระยะทางยาวหลายจุด เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งของ จนท.หน่วยซีลที่จะทำการช่วยเหลือน้องๆ ออกมา ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย

ถึงแม้ว่าการปฏิบัติการช่วยเหลือโดยวิธีการเจาะเขาลงมายังโพรงถ้ำ เพื่อลำเลียงเด็กๆ ดึงขึ้นทางปล่องบนเขาจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งได้มีการสำรวจโพรงถ้ำจากด้านบนเขามากว่า 2 สัปดาห์ เพื่อหาทางทำการเจาะทะลุทะลวงลงมาถึงภายในถ้ำ เพราะการปฏิบัติการช่วยเหลือโดยการชักดึงทีมหมูป่าที่ 13 ชีวิต ขึ้นมาจากภายในถ้ำจะมีความปลอดภัยกว่าการเคลื่อนย้ายออกมาจากถ้ำด้วยการดำน้ำ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาหนทางการปฏิบัติดังกล่าวได้ เพราะระยะความสูงของพื้นดินด้านบนเขาลงมาจนถึงโพรงถ้ำประมาณ 500 - 1,000 เมตร และยังไม่ทราบตำแหน่งที่จะเจาะลงมาให้ตรงกันชัดเจน

กรณีที่จำเป็นต้องเลือกหนทางปฏิบัติด้วยการนำเด็กๆ ดำน้ำออกมาตามเส้นทางใต้น้ำที่ยากลำบาก และมีระยะทางไกลนั้น นอกจากการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากแบบเต็มหน้า ( Full face) และการใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานานๆ เพื่อฝึกความเคยชิน การเพิ่มอุปกรณ์เชือกลากจูง สำหรับชักรอกเพื่อช่วยเพิ่มให้การเคลื่อนที่ของเด็กๆ ได้เร็วขึ้น การเตรียมสถานีพักเหนื่อยเหนือน้ำเพื่อออมแรงระหว่างทางเป็นระยะๆ การเตรียมถุงอุโมงค์อากาศใต้น้ำระหว่างทาง โดยเฉพาะปากทางเข้า-ออกโพรงอุโมงค์ถ้ำใต้น้ำแคบๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้ว

การปฏิบัติการช่วยเหลือเพื่อนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว ภายในถ้ำเขาหลวง ระยะทาง กว่า10 กม. ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางการมุดดำน้ำในโพรงใต้น้ำเล็กๆ ระยะทางยาวหลายจุด เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งของ จนท.ทีมหน่วยซีลที่ทำการช่วยเหลือออกมา ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย

ถึงแม้ว่าการปฏิบัติการช่วยเหลือโดยวิธีการเจาะเขาลงมา เพื่อลำเลียงดึงขึ้นทางปล้องบนเขาจะเป็นวิธที่ปลอดภัยกว่า ซุ่งได้มีการสำรวจโพรงถ้ำจากด้านบนมากว่า 2 สัปดาห์ เพื่อหาทางทำการเจาะทะลุทะลวงลงมาถึงภายในถ้ำ การปฏิบัติการช่วยเหลือสำหรับการชักดึงทีมหมูป่าที่ 13 ชีวิต ขึ้นมาจากภายในถ้ำอย่างปลอดภัยกว่าการเคลื่อนย้ายออกมาจากถ้ำด้วยการดำน้ำ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาหนทางการปฏิบัติดังกล่าวได้ เพราะระยะความสูงของพื้นดินด้สยบนเขาลงมาจนถึงโพรงถ้ำประมาณ 500 - 1,000 เมตร และไม่ทราบตำแหน่งที่จะเจาะให้ตรงกันชัดเจน

กรณีที่จำเป็นต้องเลือกหนทางปฏิบัติด้วการนำเด็กๆ ดำน้ำออกมาตามเส้นทางใต้น้ำที่ยากลำบาก แคบ และมีระยะทางไกลนั้น นอกจากการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากแบบเต็มหน้า ( Full face) และการใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานานๆ เพื่อฝึกความเคยชิน การแก้ไขปัญหาน้ำซึมเข้าหน้ากาก การเตรียมเพิ่มอุปกรณ์เชือกลากจูง สำหรับชักรอกเพื่อช่วยเพิ่มให้การเคลื่อนที่ของเด็กๆ ได้เร็วขึ้น การจัดเตรียมสถานีพักเหนื่อยเหนือน้ำเพื่อออมแรงระหว่างทางเป็นระยะๆ การเตรียมถุงอุโมงค์อากาศใต้น้ำระหว่างทาง โดยเฉพาะปากทางเข้า-ออกโพรงอุโมงค์ถ้ำใต้น้ำแคบๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แก้ไขปัญหาการหายใจใต้น้ำและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ กรณีที่อุปกรณ์ดำน้ำเกิดปัญหาระหว่างการดำน้ำรอดอุโมงต์แคบๆใต้น้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้ว

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจำลองการปฏิบัติเสมือนจริงหรือการทดสอบการเคลื่อนย้ายตามแผน โดบใช้ จนท.หน่วยซีล 1 นาย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเด็ก ซึ่งช่วยตัวเองแทบไม่ได่ แล้วพากันเคลื่อนย้ายออกมา เพื่อทำการทดสอบแผนการปฏิบัติจริง การกะระยะเวลาเคลื่อนย้ายในแต่ละช่วง และการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินต่างๆ ตามสถานการณ์ นับเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะเป็นการซักซ้อมการปฏิบัติเพื่อหาวิธีการที่ดีและปลอดภัยที่สุดทำให้ทราบระยะเวลาจริง และทำให้เกิดความมั่นใจของ จนท.

การดำน้ำในถ้ำของต่างประเทศที่นำมาประกอบนี้ จะทำให้มองเห็นถึงความยากลำบากในการปฏิบัติการในครั้งนี้ ซึ่งนอกจากโพรงถ้ำจะแคบ ระยะทางยาว น้ำขุ่นมืดมองไม่เห็น และบางช่วงมีกระแสน้ำพัดแรง
จึงขอเป็นกำลังใจให้กับ จนท.ซีล ทุกคน และน้องๆ ทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ให้ สู้ๆ และทะยอยพากันออกมาในวันนี้ด้วยความปลอดภัยทุกคน

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การช่วยเหลือนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว

การช่วยเหลือนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว

ปัญหาการช่วยเหลือนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว ซึ่งเลยพัทยาบีชไป 400 ม. ภายในถ้ำเขาหลวง ระยะทาง กว่า 10 กม. ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางการมุดดำน้ำในโพรงใต้น้ำเล็กๆ ระยะทางยาวหลายจุด เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งของ จนท.ทีมหน่วยซีลที่ทำการช่วยเหลือออกมา ซึ่งบางส่วนตั้งฐานปฏิบัติการช่วยเหลือส่วนหน้าในพื้นที่โถง 3 อีกส่วนหนึ่งต้องอยู่เป็นเพื่อนคอยดูแลเด็กๆ ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ที่เนินนมสาว ภายในถ้ำเขาหลวง ซี่งเป็นทีมปฏิบัติงาน จึงไม่มีเวลาในการวิเคราะห์ วางแผน อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย

ทีมวิเคราะห์ วางแผนการปฏิบัติการช่วยเหลิอการนำเด็กออกมา ซึ่งอยู่ที่ศูนย์อำนวยการหลักภายนอกถ้ำ จะต้องมีข้อมูลสภาพแวดล้อมของภูมิประเภทพื้นที่ปฏิบัติการช่วยเหลือที่ละเอียดทุกซอกทุกมุมเป็นปัจจัยสำตัญลำดับแรก จนถึงขณะนี้ 4 วันภายหลังเข้าถึงที่หมายที่พบเด็กๆ ติดอยู่เนินนมสาวตั้งแต่คืนวันที่ 2 ก.ค. ยังไม่มีปรากฎภาพกร๊าฟฟิคเส้นทาง และสภาพแวดล้อมของถ้ำ สภาพของโพรงถ้ำใต้น้ำ สภาพพื้นน้ำกว้าง ยาว ลึก สภาพพื้นบก กว้างยาว สูง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนการเคลื่อนย้าย เพื่อช่วยเหลือออกมา คงมีแต่ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดต่างๆ ที่ต้องจิตนาการหรือมโนตามว่าน่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน

ข้อมูลสภาพแวดล้อมของภูมิประเภทของถ้ำ จากหน่วยซีลที่เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเป็นเพียงส่วนหนึ่งเพราะทัศนวิสัยจำกัดในการดำน้ำขุ่นๆ ข้อมูลอีกส่วนที่สำคัญคือจะได้จากการสอบถามเด็ก ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าตอนเดินมุดผ่านเข้าไปตอนน้ำยังไม่ท่วม เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ เพราะเส้นทางที่หน่วยซีลมุดดำน้ำเข้าไป อาจจะเป็นคนละโพรงหรือคนละเส้นทางกับที่เด็กๆ มุดเข้าไป เพราะดูจากคลิ้บที่หน่วยซีลเลี้อยมุดโพรงถ้ำเข้าไปแล้วแคบมาก เกินกว่าที่เด็กๆ คิดจะมุดผ่านเข้าไปที่เนินนมสาวก่อนน้ำจะท่วมโพรงถ้ำ ?

หากได้ข้อมูลตรงกันโดยละเอียดสภาพแวดล้อมของภูมิประเภทของถ้ำ เส้นทาง และอาณาบริเวณภายในถ้ำ ตลอดระยะทาง 10 กม. และโดยเฉพาะข้อมูลรายละเอียดแต่ละช่วงของการดำน้ำและโพรงถ้ำใต้น้ำ ทั้งระยะทาง ความกว้าง ความยาว และความลึก ก็จะช่วยในการวิเคราะห์ วางแผนการปฏิบัติการช่วยเหลิอการนำเด็กออกมาด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย

กรณีที่จำเป็นต้องนำเด็กๆ ดำน้ำออกมาตามเส้นทางใต้น้ำที่ยากลำบาก แคบ และมีระยะทางไกล จำเป็นต้องฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากแบบเต็มหน้า ( Full face) และการใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานานๆ เพื่อฝึกความเคยชิน การแก้ไขปัญหาน้ำซึมเข้าหน้ากาก การเตรียมเพิ่มอุปกรณ์เชือกลากจูง สำหรับชักรอกเพื่อช่วยเพิ่มให้การเคลื่อนที่ของเด็กๆ ได้เร็วขึ้น การจัดเตรียมสถานีพักเหนื่อยเหนือน้ำเพื่อออมแรงระหว่างทางเป็นระยะๆ การเตรียมถุงอุโมงค์อากาศใต้น้ำระหว่างทาง โดยเฉพาะปากทางเข้า-ออกโพรงอุโมงค์ถ้ำใต้น้ำแคบๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แก้ไขปัญหาการหายใจใต้น้ำและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ กรณีที่อุปกรณ์ดำน้ำเกิดปัญหาระหว่างการดำน้ำรอดอุโมงต์แคบๆใต้น้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูล https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=416443005522557&id=100014705822669
เจอทีมหมูป่าแล้ว ต้องรีบพาออกมา

จากคลิ้บล่าสุดเมื่อเช้านี้ที่หมอภาคย์ ดำน้ำเข้าไปทำการปฐมพยาบาลน้องๆ ทีมหมูปาอะคาเดมี่ ณ เนินนมสาว ภายในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน โดยต้องใช้เวลาในการเดินทางจากโถง 3 ตั้งแต่ตี 5 ใช้ระยะเวลาถึง 6 ชม.จึงจะถึงเนินนมสาว ซึ่งเป็นระยะทางดำน้ำที่ไกลมาก ต้องเปลี่ยนถังอากาศอ๊อกซิเยนระหว่างทางใต้น้ำเป็นระยะๆ โดยเด็กๆ ทุกคนปลอดภัยและมีขวัญกำลังใจดีมาก อยากจะออกมาจากถ้ำโดยเร็ว ชุดที่สวมใส่ยังเป็นชุดกีฬาเดิมที่ใส่มาแล้วกว่า 10 วันยังไม่ได้เปลี่ยนชุด มีเพียงผ้าห่มฟอลย์เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย มีน้ำ มีอาหารเหลว ( power gel ) เพื่อพักพื้นร่างกาย มีชุดหน่วยซีล คอยเฝ้าดูแลอยู่เป็นเพื่อนอย่างใกล้ชิด

การดำน้ำที่มีระยะทางไกลและใช้เวลานานมาก จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ Deep sea scooter แทนการดำแบบใช้อุปกรณ์ตีนกบ เพื่อช่วยให้การเคลื่อนที่เร็วขึ้น ลดการใช้พละกำลังลง และใช้ระยะเวลาน้อยลง รวมถึงการใช้ชุดดำน้ำเฉพาะ ที่มีความเหนียวทนทานป้องกันการบาดเจ็บจากหินบาดหรือการกระแทกหินใต้น้ำ ชุดกระชับร่างกายให้มีความคล่องตัว ตลอดจนการเจาะสะกัดโขดหินใต้น้ำเพื่อเปิดช่องทางดำน้ำที่แคบๆ บางช่วงให้เป็นโพรงกว้างใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถน้ำน้องๆ ทั้ง 13 ชีวิตออกมาจากถ้ำได้สะดวกง่ายขึ้น ปลอดภัย และรวดเร็วขึ้น

เซฟวิ่ง หมูป่า อะคาเดมี่ vs. เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน

เซฟวิ่ง หมูป่า อะคาเดมี่ ( Saving Moo Pa Academy ) 
vs. 
เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน ( Saving Private Ryan )

การปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมฟุตบอลเยาวชน หมูป่า อะคาเดมี่ จำนวน 13 คน ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เกือบ 10 วันแล้ว ทำให้นึกถึงภาพยนต์เรื่อง เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน ( Saving Private Ryan ) โดย พลทหาร เจมส์ ไรอัน ที่ตกอยู่ในแนวข้าศึกโดยไม่ทราบชะตากรรม มารดาผู้สูญเสียลูกชายในการรบไปแล้วถึง 2 คน จึงได้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งได้ตัดสินใจให้พาพลทหารไรอันกลับบ้านมาอย่างปลอดภัย

ภารกิจนำพลทหารไรอันกลับบ้านจึงตกแก่กองกำลังของร้อยเอกมิลเลอร์ โดยที่บางคนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเสี่ยงชีวิตคนส่วนใหญ่เพื่อชีวิตคน ๆ เดียวด้วย โดยที่ระหว่างทางพวกเขาต้องประสบกับความสูญเสียเป็นอย่างมาก ซึ่งในท้ายที่สุด หลายคนได้เสียชีวิตรวมทั้งร้อยเอกมิลเลอร์ด้วย

ภาพยนต์เรื่องนี้ สะท้อนถึงการปฏิบัติภารกิจของทหารเพื่อให้บรรลุภารกิจเหนือสิ่งอื่นใด เช่นเดียวกับภารกิจการค้นหาและช่วยเหลือทีมฟุตบอลเยาวชน หมูป่า อะคาเดมี่ จำนวน 13 คน ซึ่งมีเด็กเล็กอายุเพียง 11 ปี อดอาหารติดอยู่ในถ้ำนานเกือบ 10 วัน และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าไปถึงพัทยาบีช จุดที่คาดว่าเด็กติดอยู่

ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบภารกิจของทั้งสองเริ่อง ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน คือ "การดำรงความมุ่งหมาย" ในการเข้าไปให้ถึงจุดที่ตัวคนเป้าหมายอยู่ให้ได้โดยเร็วที่สุดเป็นลำดับเร่งด่วนแรก และทำการ "ค้นหาช่วยเหลือ" เพื่อนำตัวคนออกมาในพื้นที่ปลอดภัยเป็นลำดับต่อไป
ที่สำคัญ " #13ชีวิตต้องรอด "

แหล่งข้อมูล https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=413133319186859&id=100014705822669

โทรศัพท์สนาม แม้ว่าจะโบราณล้าสมัย แต่จำเป็น !

โทรศัพท์สนาม แม้ว่าจะโบราณล้าสมัย แต่จำเป็น !

โทรศัพท์สนาม เป็นอุปกรณ์สื่อสารทางสาย ที่ใช้ในทางทหาร ถึงแม้ว่าจะโบราณล้าสมัยในยุคนี้ แต่ก็มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช่ในปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมฟุตบอลเด็กเยาวชน หมูป่าอะคาเดมี่ ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน มากว่า 9 วัน เพราะมีขนาดเล็ก สะดวกแก่การพกพาและวางสายติดตั้งในพื้นที่ การใช้งานง่าย วางสายใช้งานได้ระยะทางนับ 10 กม. เหมาะกับพื้นที่ในถ้ำที่อับสัญญาณการสื่อสาร จะทำให้การดำรงการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในถ้ำที่ลึกที่สุด - ตำบลพักคอยระหว่างทาง - ศูนย์บัญชาการส่วนหน้าในถ้ำ - มาจนถึงศูนย์บัญชาการใหญ่ปากถ้ำ เพื่อให้การติดต่อสื่อสารสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพบเด็กๆ ที่ติดอยู่ในถ้ำ จะสามารถแจ้งข่าวสารและการร้องขอความช่วยเหลือต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะทุกเวลานาทีมีค่ายิ่ง !

แหล่งข้อมูล https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=412804345886423&id=100014705822669

ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน "หมูป่า อะคาเดมี่" ทั้ง 13 ชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน "หมูป่า อะคาเดมี่" ทั้ง 13 ชีวิต


ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน "หมูป่า อะคาเดมี่" ทั้ง 13 ชีวิต ผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าไปถึงจุดที่คาดว่าเด็กๆจะที่ติดอยู่บริเวณห้องโถงชั้นในถ้ำลึกกว่า 10 กม. ที่จะต้องผ่านกระแสน้ำเชี่ยว ลึก ขุ่นข้น มืด และระยะทางยาว ภายในถ้ำเป็นช่วงๆ

พื้นที่ปฏิบัติการที่มีลักษณะยากลำบาก ทำให้การปฏิบัติงานของ จนท.ชุดปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือฯ สูญเสียพละกำลัง และเวลา จากการเคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคที่มีระยะทางไกล

การนำเทคโนโลยีและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เช่น อุปกรณ์ช่วยการดำน้ำลึก (Deep Sea Scooter) , รอก ( Pulley) หรือ รอกทดแรง (Tensioner) เพื่อใช้ในการลำเลียง จนท. และถังอากาศออกซิเยนที่มีน้ำหนักมาก เข้าไปในพื้นที่ง่ายขึ้น จำนวนมากขึ้น และทุ่นแรง ทุ่นระยะเวลา

เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติการมีระยะทางไกลถึง 10 กม. จึงจำเป็นจะต้องมีการวางตำบลพักคอย หรือตำบลสนับสนุนระหว่างทางเป็นระยะๆ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างที่ใช้ปฏิบัติงานสำรองและเพิ่มเติมตลอดเวลา เช่น ถังอากาศออกซิเยน อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์แสงสว่าง แบตเตอรี่สำรอง อาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ช่วยชีวิต ยาเวชภัณฑ์ ต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติการมีความต่อเนื่องตลอดเวลา เช่นเดียวกับการปฏิบัติการทางทหาร หรือการปฏิบัติการรบแบบทหารราบ ที่จะต้องมีการหนุนเนื่อง มีความต่อเนื่องและความรวดเร็วแข่งกับเวลา เพราะเวลานาทีมีค่ามาก เด็กติดอยู่ในถ้ำอายุน้อยที่สุดเพียง 11 ปี ซึ่งต้องอดอาหารมากว่า 7 วัน !

แหล่งข้อมูล https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=411920899308101&id=100014705822669

การปฏิบัติการค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัย น้องๆ ทีมฟุตบอล ทั้ง 13 คน

การปฏิบัติการค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัย น้องๆ ทีมฟุตบอล ทั้ง 13 คน

คอยติดตามข่าวสารการปฏิบัติการค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัย น้องๆ ทีมฟุตบอล ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย มาตั้งแต่วันแรกจนถึงขณะนี้ด้วยความห่วงใย และได้โพสต์แสดงความคิดเห็นในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการค้นหา ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้การค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัย น้องๆ ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว

ความพยายามหลายฝ่ายทั้ง ทหาร ตำรวจ ภาครัฐ ภาคเอกชน ทึมอาสาสมัครกู้ภัยเอกชน ฯลฯ ที่กำลังหาวิธีการเข้าไปในถ้ำที่มืดสนิท มีแอ่งน้ำท่วมขังปิดกั้นทางเข้า-ออกถ้ำ พิ้นที่อับสัญญาณระบบการติดต่อสือสาร เพื่อค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัย น้องๆ ท่ามกลางปัญหาข้อจำกัดทั้ง จทน.ที่ไม่คุ้นเคยพื้นที่ ขาดเครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษต่างๆ มีแต่ประสบการณ์และกำลังใจล้วนๆ

หากได้มีการเพิ่มเติมเครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษต่างๆ เพื่อลดปัญหาข้อจำกัดด้านความมืดสนิท แอ่งน้ำท่วมขังปิดกั้นทางเข้า-ออกถ้ำ พิ้นที่อับสัญญาณระบบการติดต่อสือสารลง รวมถึงการจำลองภาพ 3 มิติ ของถ้ำด้วย Computer Graphic จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยเข้าไปในถ้ำ ว่ามีที่สูง ที่ต่ำ กว้าง ยาว ที่น้ำ ที่แห้ง ช่องว่าง หลืบ ตรอก ซอก ซอย ฯลฯ จะช่วยให้ทีมช่วยเหลือมองเห็นภาพข้างในคราวๆ เพื่อช่วยในการวางแผนการค้นหาและช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น เพราะทุกๆนาทีมีค่า

การสนับสนุนทีม Graphic Design เก่งๆ ขึ้นไปช่วยอีกแรง ระบบแสงสว่างแบบกันน้ำ (LED) ระบบสำรวจใต้น้ำ ระบบระบุตำแหน่งและนำทางในพื้นที่อับสัญญาณ GPS และระบบการติดต่อสือสารพิเศษแบบ MOBILE สำหรับพื้นที่อับสัญญาณ จึงมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการค้นหา ช่วยเหลือ กู้ภัย น้องๆ นอกเหนือจาก จนท.ที่กล่าวมาแล้ว