สรุปบทเรียนมัลแวร์ WannaCry
( WannaCry Ransomware Worm Lesson Learned
)
โดย พลตรี ฤทธี อินทราวุธ
ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก
WannaCry ที่เป็นข่าวใหญ่มาตั้งแต่
12 พ.ค.60 จนถึงวันนี้ ถือเป็นเหตุการณ์ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ ( Cyber
Threats ) ที่สำคัญระดับโลกเหตุการณ์หนึ่ง นอกเหนือจากการโจมตีทางไซเบอร์
( Cyber Attack ) ด้วย DDos Attack , การเจาะระบบของบรรดากลุ่มแฮกเกอร์
( Hacker ) , การแพร่ระบาดของไวรัสหรือมัลแวร์ทั่วๆไป หรือการใช้
มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทั่วๆไป
( Ransomware ) เพราะว่า
WannaCry หรือ Wanna Cryptor ได้พัฒนาความรุนแรงในการแพร่ระบาดให้มีขีดความสามารถแบบหนอนไวรัส
( Worm ) ทำให้เป้าหมายที่ถูกโจมตีแพร่กระจายไปในวงกว้าง
ซึ่งแตกต่างจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทั่วๆไป ( Ransomware ) ที่มักจะพุ่งเป้าหมายในการโจมตีเฉพาะสถาบันหรือองค์กรที่มีศักยภาพทางการเงินสูง
และวงเงินในการเรียกค่าไถ่ก็สูงตามไปด้วย แต่
WannaCry สามารถแพร่ระบาดไปโจมตีเป้าหมายทั่วไปรวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีข้อมูลสำคัญในเครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น ไฟล์ข้อมูลและรูปภาพส่วนตัวหรือครอบครัวที่มีความสำคัญต่อตนเอง
ทำให้เหยื่อบางรายยอมเสียเงินค่าไถ่จำนวน US$ 300ให้กับผู้โจมตี
เพื่อขอรหัสปลดล็อคไฟล์ข้อมูล
การโจมตีของ WannaCry ในกรณีดังกล่าว หน่วยงานด้านความมั่นคงของชาติ
( National Security ) หลายประเทศต่างมีความตระหนัก ถ้าเป็นกรณี
มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทั่วๆไป ( Ransomware )
ประเทศส่วนใหญ่มักจะมองไปในด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ( Cyber Crime ) เพราะเป็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ( Cyber Security ) ของสถาบันหรือองค์กรนั้นๆ ถ้าดูแลไม่ดีพอก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายเรียกค่าไถ่และเป็นเหยื่อการโจมตีเพื่อเรียกร้องทางการเงินค่าไถ่ถอนคืนการครอบครองระบบงานหรือข้อมูลที่สำคัญๆ
ดังนั้น บทเรียนจากโจมตีของ
WannaCry ที่สามารถแพร่ระบาดไปโจมตีเป้าหมายทั่วไปรวมถึงบุคคลทั่วไปที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
แบบเดียวกับการแพร่ระบาดของหนอนไวรัสคอมพิวเตอร์ และยังมีการเรียกค่าไถ่ในการปลดล็อดการใช้งานคอมพิวเตอร์
เปรียบเสมือน โจรสลัดทางไซเบอร์ ( Pirates of Cyber ) ที่จับยึดไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสถาบัน
องค์กร และประชาชนในประเทศไว้เป็นตัวประกัน เพื่อการเรียกเงินค่าไถ่ จึงทำให้ผู้บริหารประเทศและหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย
ต้องหันกลับมองว่าเป็นการคุกคามด้านความมั่นคงและความเชื่อมั่นในระดับประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามองแต่เรื่องการโจมตีทางไซเบอร์
ด้วย DDos Attack และการเจาะระบบของแฮกเกอร์ เท่านั้น ทั้งนี้มิได้หมายความว่า WannaCry มันเป็นเรื่องใหญ่โต จนถึงขั้นระดับสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare ) หรือระดับการก่อการร้าย ( Terrorists ) ตามที่ได้มีผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์บางรายวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เพียงแต่ต้องการยกระดับความสำคัญของภัยทางไซเบอร์ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความตระหนัก แต่ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหน่วยงานที่เรียกว่า Homeland Security เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาล และมีองค์กรที่ชื่อว่า Industrial
Control System Cyber Emergency Response Team ( ICS-CERT ) ภายใต้ศูนย์รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ National Cyber security and Integration Center
( NCCIC ) ได้มีการกำหนดระดับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ( Spectrum of Cyber Threats ) ไว้ 5 ระดับ
คือ 1. ภัยคุกคามในระดับรัฐบาลแห่งชาติ ( National Governments ) 2. การก่อการร้ายและกลุ่มการก่อการร้าย
( Terrorists ) 3. สายลับหรือพวกจารกรรมในภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มองค์กรอาชญากรรม ( Industrial
Spies and Organized Crime Groups ) 4.
กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีอุดมการณ์ ( Hacktivists
) 5. แฮ็กเกอร์ ( Hackers
) ส่วนกองทัพบกให้ความสำคัญกับระดับภัยคุกคามด้านไซเบอร์
4 ด้าน ได้แก่ 1. ภัยคุกคามที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ 2. ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้
( จชต. ) 3. ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันฯ 4.
ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกองทัพ [1] เป็นต้น
สำหรับบทเรียนอื่นๆ ทั่วไปจากโจมตีของ
WannaCry ครั้งนี้
ได้มีผู้เขียนเพิ่มเติม ได้แก่ 1. การอัปเดตอุปกรณ์ IT
ให้ปลอดภัย เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำให้เป็น และต้องมี Mindset ว่า “ ความปลอดภัยควรอยู่เหนือความสะดวกสบาย ”
2. ทุกคนตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีได้
และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลและระบบนั้น สูงกว่าตัวมูลค่าของอุปกรณ์เป็นอย่างมาก
3. การติดตามข่าวสารด้านความมั่นคงปลอดภัย
ทำความเข้าใจให้ได้ และสื่อสารออกไปยังผู้ใช้งานให้เข้าใจได้เร็วที่สุด คือ อีกหนึ่งงานสำคัญของผู้ดูแลระบบ
IT 4. กระบวนการรับมือสำหรับกรณีนี้ สำคัญทั้งในเชิงป้องกัน
และเชิงการแก้ไขปัญหา 5. ควรมี Backup ไว้รับมือกับ
Ransomware กันได้แล้วนะ[2]
--------------------------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น