กระทรวงกลาโหม กับ โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ
โดย พลเอก ฤทธี
อินทราวุธ
หัวหน้าที่ปรึกษา คณะทำงานฯด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม
---------------------------------------
ดาวเทียม ( Satellites ) นับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและงานด้านความมั่นคงของชาติ
โดยเฉพาะโลกในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีการพัฒนา
และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และการทหาร
หลายประเทศได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านกิจการอวกาศ โดยเฉพาะกิจการดาวเทียม
ซึ่งมีหลากหลายประเภทของการใช้งาน ทั้ง ดาวเทียมสื่อสาร ( Communications Satellites
) . ดาวเทียมถ่ายภาพหรือดาวเทียมสำรจทรัพยากร (
Earth Observation Satellites ) , ดาวเทียมนำร่อง ( Navigation Satellites
) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (
Meteorological Satellites ) , ดาวเทียมดาราศาสตร์ (
Astronomical Satellites ) ,
ดาวเทียมจารกรรม ( Reconnaissance Satellites ) เป็นต้น[1]
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมด้านกิจการอวกาศ ยังแบ่งแยกกิ่งของประเภทอุตสาหกรรมในเชิงธุรกิจออกเป็นอย่างน้อยอีก
4 - 5 ด้าน คือ อุตสาหกรรมการพัฒนาและผลิตสร้างดาวเทียม , อุตสาหกรรมการพัฒนาระบบจรว
ตนำส่งดาวเทียม
, อุตสาหกรรมการพัฒนาระบบสถานีภาคพื้น
ซึ่งประกอบด้วยสถานีควบคุมดาวเทียมและสถานีการให้บริการข้อมูลดาวเทียม ,
อุตสาหกรรมการพัฒนา Payload หรือ ระบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนดาวเทียมเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์
และอุตสาหกรรมการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากดาวเทียม เช่น ระบบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม
, ระบบโทรทัศน์ดาวเทียม , ระบบข้อมูลดิจิทัล , ระบบนำร่อง , ระบบสมาร์ทฟาร์ม ฯลฯ
เป็นต้น
กระทรวงกลาโหม ได้มีแนวความคิดในการพัฒนาดาวเทียมสื่อสารเพื่อความมั่นคง
หรือดาวเทียมทางทหาร มาตั้งแต่ ปี 2539 ในสมัย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหม แต่โครงการฯ ไม่สำเร็จ ต่อมาในปี 2558
กระทรวงกลาโหม ได้มีการผลักดัน โครงการดาวเทียมสื่อสารเพื่อความมั่นคง [2] โดย พลเอก ศิริชัย
ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น ได้เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่าง
กระทรวงกลาโหม และ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน ) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการสื่อสารดาวเทียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
กำหนดแนวทางความร่วมมือทางด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมระหว่าง กระทรวงกลาโหม และ บริษัท
ไทยคม จำกัด ( มหาชน ) ในการที่จะร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพ
และพัฒนาขีดความสามารถทางด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมของประเทศ
รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการดาวเทียมสื่อสารร่วมกันระหว่างภาครัฐ
และเอกชนโดยกระทรวงกลาโหม
จะให้การสนับสนุนข้อมูลในการออกแบบดาวเทียมและระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และการสนับสนุนในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และ บริษัท ไทยคม
จำกัด ( มหาชน ) จะให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการจัดสร้างดาวเทียมสื่อสาร
( THAICOM 9 ) ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
ตลอดจนสนับสนุนองค์ความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อการพัฒนาบุคลากร
รวมถึงการให้การสนับสนุนในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทั้งในด้านกำลังพล เทคโนโลยี
และการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถนำประโยชน์จากระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
ไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางด้านความมั่นคงและภารกิจอื่นๆ ของภาครัฐ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศต่อไป แต่โครงการจัดสร้างดาวเทียมสื่อสาร
( THAICOM 9 ) ก็ถูกรัฐบาลชุดปัจจุบันระงับไปในที่สุด
ดาวเทียมไทยคม[3] นับเป็นดาวเทียมสื่อสารของไทย ที่ได้รับสัญญาสัมปทานให้การบริการด้านการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมมาตั้งแต่ปี
2537 โดยได้ปล่อยดาวเทียมสื่อสารมาแล้วรวมจำนวน 8 ดาว ดาวเทียม
ไทยคม 1 – 3 ได้หมดอายุการใช้งานไปแล้ว
ยังคงเหลือ ดาวเทียมไทยคม 4 ( IP Star ) เป็นดาวเทียมที่ให้การบริการสัญญาณแบบ
Broadband ความเร็วสูง ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในอีก 2 ปี
, ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมที่ให้การบริการสัญญาณแบบ
Broadcast ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในอีก 3 ปี โดยดาวเทียมทั้ง 2 ดวงกำลังจะประสบปัญหาด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่จะบังคับควบคุมดาวเทียมให้อยู่ในวงโคจร
ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลจากการศึกษาดูงานที่ผ่านมา ทาง บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน ) ได้เสนอแผนการส่งดาวเทียมพลังงานไปประกบกับดาวเทียมไทยคม
4 และ 5 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล เพื่อใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากดาวเทียมดังกล่าว
ไปช่วยในการขับเคลื่อนและบังคับควบคุมดาวเทียมไทยคมทั้ง 2 ดวง ที่กำลังจะหมดพลังงานให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
5 ปี ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการให้การบริการต่อลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เกิดความต่อเนื่อง
สำหรับดาวเทียมไทยคม 6 , 7 และ 8
ยังคงอยู่ในสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้ เคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งมีชื่อปรากฎในระบบบัญชีทำเนียบดาวเทียมว่า Asia
SAT นั้น เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 7 เป็นดาวเทียมที่ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน ) ลงทุนร่วมกับจีน
โดยแบ่งช่องสัญญาณการให้บริการสื่อสารดาวเทียมออกเป็น 2 ส่วน ของใครของมัน
ผลจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม 4 และ 5 โดย
คณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่ต่อสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม 5[4] หรือขยายเวลาสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ
แต่ให้ใช้แนวทางเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ ( PPP ) ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
พ.ศ.
2556 โดยมอบให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศาษฐกิจและสังคม
รับผิดชอบดำเนินการ โดยคำนึงถึง ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบ และความสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
จะให้ผลประโยชน์กับรัฐมากที่สุด อีก 3 แนวทาง คือ
การจำหน่ายดาวเทียมให้เอกชน , รัฐบาลดำเนินการเอง หรือ โอนทรัพย์สินให้ บริษัท
กสท. โทรคมนาคม จำกัด เพื่อนำทรัพย์สินออกให้เช่าในฐานะผู้ประกอบการ (Operator) โดยล่าสุด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด[5] ประกาศตัวว่ามีความพร้อมที่จะเข้ามาดำเนินการเสนอขอยื่นสัมปทานต่อภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม
5 ของ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน )
( CAT ) เพื่อดำเนินการเป็น
โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ โดยจะแยกการบริการออกเป็น 2 ส่วน คือ การให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ
และการให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาคธุรกิจเชิงพาณิชย์
กระทรวงกลาโหม ควรจะเข้ามามีบทบาทใน โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ โดยเฉพาะการให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ
รวมถึงการสนับสนุนงานสื่อสารด้านความมั่นคง
ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมมีหน่วยงานด้านสื่อสารโทรคมนาคม
เช่น กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม , กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
, กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก และกรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ และกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ
เป็นต้น
ซึ่งถือว่ามีศักยภาพทั้งองค์กรและบุคลากรด้านการสื่อสาร หากได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน
รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างหน่วยและการจัดตั้งหน่วยงานด้านกิจการอวกาศกลาโหม
ก็สามารถที่จะเข้ามามีบทบาทใน
โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ โดยเฉพาะการให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมจะต้องมี นโยบาย แผนงาน
โครงการ แผนปฏิบัติการในด้านต่างๆ
รองรับ ทั้งการพัฒนาองค์กร และบุคลากร นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะการเตรียมบุคลากรและการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนถึงการสร้างแนวทางรับราชการ ความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงยั่งยืน มาตรการจูงใจและการตอบแทนต่างๆ เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความพร้อมขององค์กรและบุคลากร ให้มีขีดความสามารถในการให้การบริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่ “ ไทยแลนด์ 4.0 ” รวมถึงการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงของชาติ สืบไป
---------------------------------------------------
อ้างอิง :
[1] https://gistda.or.th/main/th/node/962
[2] https://www.ryt9.com/s/prg/2230103
[2] https://www.ryt9.com/s/prg/2230103
[4] https://www.khaosod.co.th/economics/news_2151687
[5] https://mgronline.com/daily/detail/9620000011028
ยังไม่อ่าน
ตอบลบ