การนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว / กำลังพลสำรองไซเบอร์
โดย พลเอก ฤทธี
อินทราวุธ
ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงกลาโหม/
หัวหน้าคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจการอวกาศ และไซเบอร์
-----------------------------------------
พลเอก
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบาย
ในการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 2 / 2561 เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ให้นำกำลังพลสำรองมาบรรจุเข้าทำ
หน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ยามปกติ
ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการทหารได้ดำเนินการรองรับต่อนโยบายดังกล่าว โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่มีอยู่ใน
พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521[1]
มาตรา 4 / 1
ซึ่งบัญญัติว่า “กระทรวงกลาโหมอาจออกประกาศกำหนดให้รับบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติภารกิจใดเป็นการเฉพาะ
โดยอาจเรียกชื่อและกำหนดตำแหน่งได้ตามความเหมาะสม
และจะกำหนดให้มีชั้นยศทหารด้วยหรือไม่ก็ได้” และพิจารณาแนวทางในการใช้กำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว
เพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
ประการที่
1
เพื่อให้หน่วยมีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที่สดชื่นมีอายุน้อย
และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
ประการที่
2
เพื่อประหยัดงบประมาณด้านบุคลากร
และลดภาระผูกพันด้านงบประมาณในระยะยาว
ประการที่
3
เพื่อแก้ปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วยกำลังรบ
และหน่วยสนับสนุนการรบ
สำหรับแหล่งที่มาของบุคลากรประเภทดังกล่าว
มาจากการรับสมัครจากกำลังพลสำรองที่มีรายชื่ออยู่ในบรรชีบรรจุกำลัง เพื่อเข้ารับการสอบคัดเลือกและทำสัญญาจ้างในตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร
นายทหารประทวน และพลทหารประจำการ โดยสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาไม่เกิน 8 ปี ซึ่งนายทหารสัญญาบัตรจะมีความก้าวหน้าได้ถึงชั้นยศ ร้อยเอก
นายทหารประทวน จะมีความก้าวหน้าได้ถึงชั้นยศ จ่าสิบเอก มีการพิจารณาบำเหน็จประจำปี
ใช้วิธีการเลื่อนชั้นเงินเดือนเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร และได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการทหาร
เมื่อกำลังพลดังกล่าวปฏิบัติงานจนครบตามสัญญาจ้างแล้ว
จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเงินก้อน
โดนคำนวณจากเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีรับราชการ คูณด้วย 2.5 เท่า
เจตนารมณ์ของ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ที่ได้มอบนโยบาย ในการประชุมสภากลาโหม ให้นำกำลังพลสำรองมาบรรจุเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ยามปกตินั้น ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการฝึกอบรมทางทหารของบุคคลพลเรือนทั่วไปที่จะมาบรรจุเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว เพื่อต้องการให้มี “กำลังพลสำรองไซเบอร์” เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
ที่ได้ตั้งเป้าที่จะสร้างนักรบไซเบอร์ จำนวน 1,000 คน ในปี 2561[2] เพื่อเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แต่การกำหนดวัตถุประสงค์ในการรับสมัครจากกำลังพลสำรองที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีบรรจุกำลัง
เพื่อแก้ปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วยกำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบ จึงเป็นข้อจำกัดของแหล่งที่มาของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่นวชาญไซเบอร์
รวมทึงข้อจำกัดด้านอายุกำลังพลสำรองที่มีอายุน้อย
ส่วนใหญ่มักจะมีความรู้ความเเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านไซเบอร์น้อยกว่ากำลังพลที่มีอายุมาก
และวัตถุประสงค์ในการนำกำลังพลดังกล่าวไปใช้งาน เพื่อต้องการบรรจุกำลังพลสำรองไซเบอร์ปฏิบัติงานใน
มิติการรบที่ 5 ( Cyber Domain ) ในศูนย์ไซเบอร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ ซึ่งเป็นหน่วยงานในส่วนบังคับบัญชาไม่ใช่หน่วยกำลังรบ
และหน่วยสนับสนุนการรบ
กรณีนักศึกษาวิชาทหารหญิง
( นศท.หญิง ) หรือ รด.หญิง ที่จบปี 5 แล้วจะได้รับการแต่งตั้งยศ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง และจะพ้นสภาพ นายทหารสัญญาบัตรหญิง มีฐานะเป็นพลเรือนทันที
ไม่สามารถสมัครเข้ามาเป็นกำลังพลสำรองได้ จึงไม่สามารถนำมาบรรจุลงในบัญชีบรรจุกำลังพลสำรองของหน่วยได้
โดยเฉพาะหน่วยงานด้านไซเบอร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ
เมื่อหน่วยเหล่านี้ได้รับอนุมัติให้สามารถจัดทำบัญชีบรรจุกำลังพลสำรองของหน่วยได้ และนักศึกษาวิชาทหารหญิง
( นศท.หญิง ) หรือ รด.หญิง ที่จบปี 5 ที่ได้รับการแต่งตั้งยศ
ว่าที่ร้อยตรีหญิง สามารถสมัครใจเข้ามาเป็นกำลังพลสำรองหญิงได้ หน่วยก็จะสามารถนำมาบรรจุลงในบัญชีบรรจุกำลังพลสำรองของหน่วยได้
ก็จะสามารถใช้คุณสมบัติการเป็นกำลังพลสำรองมาสมัครสอบคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่เป็นทหารชั่วคราวได้และพ้นสภาพการเป็นกำลังพลสำรองเช่นเดียวกับกำลังพลสำรองชาย
ดังนั้น
แนวทางการนำขีดความสามารถผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์พลเรือนมาใช้งานในกองทัพ
ตามยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2558
จึงควรพิจารณาเปิดโอกาสกว้างในการรับสมัครกำลังพลสำรองและบุคคลพลเรือนทั่วไปทั้งชาย-หญิง
ให้สามารถสมัครสอบคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่เป็นทหารชั่วคราวได้ และทำสัญญาจ้างในตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร
นายทหารประทวน และพลทหารประจำการ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521
มาตรา 4 / 1
โดยใช้หลักเกณฑ์เทียบเคียงคุณวุฒิทางการศึกษาเช่นเดียวกับการบรรจุพลเรือนเป็นข้าราชการทหาร
และควรเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการรับบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว เพื่อบรรจุเป็นกำลังพลสำรองไซเบอร์ปฏิบัติงานใน
มิติการรบที่ 5 ( Cyber Domain ) ในศูนย์ไซเบอร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ
-------------------------------------------
อ้างอิง