กำลังพลสำรองไซเบอร์
กับ ทหารเกณฑ์ไซเบอร์
( Cyber Reserve vs. Cyber Draftee )
โดย พลโท ฤทธี
อินทราวุธ
ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงกลาโหม/
หัวหน้าคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจการอวกาศ และไซเบอร์
-----------------------------------------
แนวความคิดในการพัฒนาเสริมสร้างกำลังทางทหารให้มีขีดความสามารถด้านไซเบอร์
ของกองทัพประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ที่มีความตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์
หลายประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาหรือจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
บางประเทศให้ความสำคัญด้านการจัดตั้งองค์กร บางประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในกองทัพ
บางประเทศหันมารับสมัครจากบุคคลพลเรือน หรือกำลังพลสำรองเพื่อเข้ามาเป็นทหารไซเบอร์
หรือรับสมัครทหารเกณฑ์ไซเบอร์ แบบตรงๆ เลยที่เดียว
ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์
มักเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาก่อน
และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป
จึงทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งเพื่อความมุ่งหมายเชิงธุรกิจและเชิงการทหาร
ส่วนประเทศที่ให้ความสำคัญกับเสริมสร้างขีดความสามารถด้านไซเบอร์ ด้วยการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
มักเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา
แต่มีความจำเป็นในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านไซเบอร์
จึงมีความจำเป็นในการต้องลงทุนใช้จ่ายงบประมาณในด้านนี้
ประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานด้านไซเบอร์ทางการทหาร
มักเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และบทบาททางการทหารที่มีความตระหนักถึงความสำคัญ
และความจำเป็นในการปฏิบัติการทางทหารในโลกไซเบอร์หรือไซเบอร์โดเมน จึงมีความจำเป็นในการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานด้านไซเบอร์ทางการทหาร
เป็นการเฉพาะ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์โดยตรง
แม้บางประเทศการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานด้านไซเบอร์ทางการทหาร
อาจจะยังไม่มีขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการรับมือกัยภัยคุกคามด้านไซเบอร์ได้เท่าที่ควร
แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเสริมสร้างเพื่อการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์
ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในกองทัพ ให้มีขีดความสามารถด้านไซเบอร์
ถือเป็นความท้าทายด้านการพัฒนาบุคลากรของกองทัพ
ด้วยปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคอันสำคัญเนื่องมาจากพื้นฐานความรู้ ความชำนาญ
ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์
จึงต้องมีการลงทุนงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างสูง
เพราะค่าใช้จ่ายในการศึกษาอบรมวิทยาการด้านนี้ค่อนข้างแพง เพื่อนำความรู้
ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ไปใช้ในองค์กรภาคธุรกิจเอกชนเป็นหลัก ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัย
ความต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นในทางธุรกิจ นอกจากกองทัพจะต้องยอมลงทุนด้วยงบประมาณสูงในด้านนี้แล้ว
ยังจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสมองไหลไปสู่ภาคธุรกิจเอกชน
ที่มีสิ่งตอบแทนและแรงจูงใจที่ดีกว่ากองทัพ
ประเทศที่กำลังหันมารับสมัครจากบุคคลพลเรือน หรือกำลังพลสำรอง หรือรับสมัครทหารเกณฑ์ไซเบอร์โดยตรง
เพื่อเข้ามาเป็นทหารไซเบอร์ เป็นแนวความคิดใหม่ ซึ่งประเทศไทย
ได้มีแนวความคิดในการนำขีดความสามารถทางไซเบอร์พลเรือนมาใช้งานในกองทัพ โดยกำหนดไว้ใน
ยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม[1] ตั้งแต่ปี 2558
จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และล่าสุดในการประชุมสภากลาโหม[2] ครั้งที่ 1 / 2561 ได้มีแนวความคิดในการนำ ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์พลเรือนและกำลังพลสำรอง
มาเสริมสร้างขีดความสามารถด้านไซเบอร์ให้กับกองทัพ เพื่อสอดรับนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการตั้งเป้าสร้างนักรบไซเบอร์ จำนวน 1,000
คน เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยไซเบอร์ ในปี 2561[3] ส่วนกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์พึ่งได้ประกาศ “โครงการทหารเกณฑ์ไซเบอร์” ในปี 2561 โดยทำงานรับราชการไปด้วย พร้อมเก็บหน่วยกิตปริญญาตรี
กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ (Ministry of Defence - MINDEF) ประกาศแผนการรับสมัครทหารเกณฑ์ประเภทใหม่
คือ ทหารไซเบอร์[4] โดยจะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ทหารไซเบอร์พื้นฐาน หรือ Cyber
Operator ประจำการในหน่วย 2 ปี
และทหารไซเบอร์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ Cyber Specialist ซึ่งจะยืดระยะเวลาประจำการออกไปเป็น
3 - 4 ปี โดยช่วง
2 ปีแรก
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินเดือนเหมือนทหารเกณฑ์ตามปกติ
แต่ผู้ที่เลือกจะร่วมโครงการ Cyber Specialist จะได้รับสิทธิพิเศษ
คือ มีช่วงเวลาสำหรับลงเรียนวิชาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มเติม และเป็นการเก็บหน่วยกิตสำหรับปริญญาตรี
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปด้วย นอกจากนี้ช่วงเวลาประจำการที่เกิน 2 ปีแรกจะได้รับเงินเดือนเต็ม และมีโอกาสในการเลื่อนยศไปจนถึง จ่าสิบตรี (First
Sergeant)
ทหารไซเบอร์พื้นฐาน (Cyber Operator) จะทำหน้าที่ด้านไซเบอร์ในระดับพื้นฐาน
เช่น การเฝ้าระวังระบบ (Tier-1) และการวิเคราะห์พื้นฐาน
(Tier-2) ขณะที่ทหารไซเบอร์ผู้เชี่ยวชาญ (Cyber
Specialist) จะทำงานระดับสูง ในระดับ Tier-3 ขึ้นไป
เช่น การทดสอบเจาะระบบ, การวิเคราะห์มัลแวร์ และการตรวจหลักฐานไซเบอร์
เป็นต้น โดยคาดว่าทางกองทัพสิงคโปร์จะเปิดรับสมัครทหารไซเบอร์พื้นฐาน (Cyber
Operator) ประมาณ 60 คน ส่วนทหารไซเบอร์ผู้เชี่ยวชาญ
(Cyber Specialist) จะรับ 50-70 คน
ก่อนจะขยายไปจนถึง 80 - 90 คน ในปีต่อๆ ไป
แนวความคิดในการพัฒนาเสริมสร้างกำลังทางทหารให้มีขีดความสามารถด้านไซเบอร์
ด้วยการรับสมัครจากบุคคลพลเรือนหรือกำลังพลสำรอง หรือการรับสมัครทหารเกณฑ์ไซเบอร์โดยตรง
เพื่อเข้ามาเป็นทหารไซเบอร์ เป็นแนวความคิดที่น่าสนใจ
เพราะเป็นแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างกำลังพลของกองทัพด้านไซเบอร์ที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
มีตัวเลือกที่มากขึ้น และมีความหลากหลาย มากกว่าการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในกองทัพที่มีอยู่เดิมซึ่งคุณวุฒิความรู้ความสามารถด้านไซเบอร์อย่างจำกัด จึงต้องมีการลงทุนค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างสูง และกำลังพลมีความจำเป็นต้องหมุนเวียนตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง
ทำให้การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นการรับสมัครจากบุคคลพลเรือน
หรือกำลังพลสำรอง ที่มีคุณวุฒิด้านไซเบอร์ เข้ามาเป็น ข้าราชการพลเรือนกลาโหม พนักงานราชการที่มีศักยภาพสูง และปฏิบัติหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว ของไทย รวมถึงการรับสมัครทหารเกณฑ์ไซเบอร์โดยตรง ของสิงคโปร์ จึงมีความเป็นไปได้
ขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการว่าใครจะประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเร็วกว่ากัน
-------------------------------------------
อ้างอิง :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น