วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงกลาโหม กับ โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ


กระทรวงกลาโหม กับ โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ
โดย พลเอก ฤทธี  อินทราวุธ
หัวหน้าที่ปรึกษา คณะทำงานฯด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม
---------------------------------------
ดาวเทียม ( Satellites )  นับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและงานด้านความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะโลกในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีการพัฒนา
และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และการทหาร หลายประเทศได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านกิจการอวกาศ โดยเฉพาะกิจการดาวเทียม ซึ่งมีหลากหลายประเภทของการใช้งาน ทั้ง ดาวเทียมสื่อสาร ( Communications Satellites ) .   ดาวเทียมถ่ายภาพหรือดาวเทียมสำรจทรัพยากร ( Earth Observation Satellites ) ,  ดาวเทียมนำร่อง ( Navigation Satellites )  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ( Meteorological Satellites )  , ดาวเทียมดาราศาสตร์ ( Astronomical Satellites )  , ดาวเทียมจารกรรม ( Reconnaissance Satellites )  เป็นต้น[1]
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมด้านกิจการอวกาศ ยังแบ่งแยกกิ่งของประเภทอุตสาหกรรมในเชิงธุรกิจออกเป็นอย่างน้อยอีก 4 - 5 ด้าน คือ อุตสาหกรรมการพัฒนาและผลิตสร้างดาวเทียม , อุตสาหกรรมการพัฒนาระบบจรว
ตนำส่งดาวเทียม , อุตสาหกรรมการพัฒนาระบบสถานีภาคพื้น ซึ่งประกอบด้วยสถานีควบคุมดาวเทียมและสถานีการให้บริการข้อมูลดาวเทียม , อุตสาหกรรมการพัฒนา Payload หรือ ระบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนดาวเทียมเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ และอุตสาหกรรมการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากดาวเทียม เช่น ระบบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม , ระบบโทรทัศน์ดาวเทียม , ระบบข้อมูลดิจิทัล , ระบบนำร่อง , ระบบสมาร์ทฟาร์ม ฯลฯ เป็นต้น
กระทรวงกลาโหม ได้มีแนวความคิดในการพัฒนาดาวเทียมสื่อสารเพื่อความมั่นคง หรือดาวเทียมทางทหาร มาตั้งแต่ ปี 2539 ในสมัย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหม แต่โครงการฯ ไม่สำเร็จ ต่อมาในปี 2558 กระทรวงกลาโหม ได้มีการผลักดัน โครงการดาวเทียมสื่อสารเพื่อความมั่นคง [2]  โดย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น ได้เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่าง กระทรวงกลาโหม และ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน )  ว่าด้วยความร่วมมือด้านการสื่อสารดาวเทียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดแนวทางความร่วมมือทางด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมระหว่าง กระทรวงกลาโหม และ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน )  ในการที่จะร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาขีดความสามารถทางด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมของประเทศ รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการดาวเทียมสื่อสารร่วมกันระหว่างภาครัฐ
และเอกชนโดยกระทรวงกลาโหม จะให้การสนับสนุนข้อมูลในการออกแบบดาวเทียมและระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และการสนับสนุนในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน )  จะให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการจัดสร้างดาวเทียมสื่อสาร (
THAICOM 9 )  ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ตลอดจนสนับสนุนองค์ความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อการพัฒนาบุคลากร รวมถึงการให้การสนับสนุนในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทั้งในด้านกำลังพล เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถนำประโยชน์จากระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางด้านความมั่นคงและภารกิจอื่นๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศต่อไป แต่โครงการจัดสร้างดาวเทียมสื่อสาร ( THAICOM 9 )  ก็ถูกรัฐบาลชุดปัจจุบันระงับไปในที่สุด
ดาวเทียมไทยคม[3] นับเป็นดาวเทียมสื่อสารของไทย ที่ได้รับสัญญาสัมปทานให้การบริการด้านการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมมาตั้งแต่ปี 2537 โดยได้ปล่อยดาวเทียมสื่อสารมาแล้วรวมจำนวน 8 ดาว ดาวเทียม
ไทยคม 1 – 3 ได้หมดอายุการใช้งานไปแล้ว ยังคงเหลือ ดาวเทียมไทยคม 4 ( IP Star ) เป็นดาวเทียมที่ให้การบริการสัญญาณแบบ Broadband ความเร็วสูง ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในอีก 2 ปี ,  ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมที่ให้การบริการสัญญาณแบบ Broadcast ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในอีก 3 ปี โดยดาวเทียมทั้ง 2 ดวงกำลังจะประสบปัญหาด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่จะบังคับควบคุมดาวเทียมให้อยู่ในวงโคจร ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลจากการศึกษาดูงานที่ผ่านมา ทาง บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน )  ได้เสนอแผนการส่งดาวเทียมพลังงานไปประกบกับดาวเทียมไทยคม 4 และ 5 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล เพื่อใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากดาวเทียมดังกล่าว ไปช่วยในการขับเคลื่อนและบังคับควบคุมดาวเทียมไทยคมทั้ง 2 ดวง ที่กำลังจะหมดพลังงานให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก 5 ปี ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการให้การบริการต่อลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เกิดความต่อเนื่อง สำหรับดาวเทียม
ไทยคม 6 , 7  และ 8 ยังคงอยู่ในสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้ เคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งมีชื่อปรากฎในระบบบัญชีทำเนียบดาวเทียมว่า
Asia SAT นั้น เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 7 เป็นดาวเทียมที่ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน )  ลงทุนร่วมกับจีน โดยแบ่งช่องสัญญาณการให้บริการสื่อสารดาวเทียมออกเป็น 2 ส่วน ของใครของมัน

ผลจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม 4 และ 5 โดย คณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่ต่อสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม 5[4]  หรือขยายเวลาสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ แต่ให้ใช้แนวทางเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ ( PPP )  ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.
2556 โดยมอบให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศาษฐกิจและสังคม รับผิดชอบดำเนินการ โดยคำนึงถึง ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบ และความสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว จะให้ผลประโยชน์กับรัฐมากที่สุด อีก 3 แนวทาง คือ การจำหน่ายดาวเทียมให้เอกชน , รัฐบาลดำเนินการเอง หรือ โอนทรัพย์สินให้ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด เพื่อนำทรัพย์สินออกให้เช่าในฐานะผู้ประกอบการ (Operator) โดยล่าสุด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด[5] ประกาศตัวว่ามีความพร้อมที่จะเข้ามาดำเนินการเสนอขอยื่นสัมปทานต่อภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม 5 ของ บริษัท ไทยคม จำกัด ( มหาชน ) ( CAT ) เพื่อดำเนินการเป็น โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ โดยจะแยกการบริการออกเป็น 2 ส่วน คือ การให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ และการให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาคธุรกิจเชิงพาณิชย์
กระทรวงกลาโหม ควรจะเข้ามามีบทบาทใน โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ โดยเฉพาะการให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนงานสื่อสารด้านความมั่นคง
ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมมีหน่วยงานด้านสื่อสารโทรคมนาคม เช่น กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม , กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย , กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก และกรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ และกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ  เป็นต้น ซึ่งถือว่ามีศักยภาพทั้งองค์กรและบุคลากรด้านการสื่อสาร หากได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างหน่วยและการจัดตั้งหน่วยงานด้านกิจการอวกาศกลาโหม ก็สามารถที่จะเข้ามามีบทบาทใน โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ โดยเฉพาะการให้บริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมจะต้องมี นโยบาย แผนงาน
โครงการ แผนปฏิบัติการในด้านต่างๆ รองรับ ทั้งการพัฒนาองค์กร และบุคลากร นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะการเตรียมบุคลากรและการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนถึงการสร้างแนวทางรับราชการ ความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงยั่งยืน มาตรการจูงใจและการตอบแทนต่างๆ  เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความพร้อมขององค์กรและบุคลากร ให้มีขีดความสามารถในการ
ให้การบริการด้านการสื่อสารดาวเทียมภาครัฐให้กับส่วนราชการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่ “ ไทยแลนด์ 4.0 ” รวมถึงการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงของชาติ สืบไป
---------------------------------------------------
อ้างอิง : 
[1] https://gistda.or.th/main/th/node/962
[2] https://www.ryt9.com/s/prg/2230103
[4] https://www.khaosod.co.th/economics/news_2151687
[5] https://mgronline.com/daily/detail/9620000011028

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562


เทคโนโลยีและความร่วมมือ กับ การแก้ไขปัญหา PM 2.5

โดย พลเอก ฤทธี  อินทราวุธ
หัวหน้าที่ปรึกษา คณะทำงานฯ ด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม
---------------------------------------
ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว หรือที่เรียกกันว่า PM 2.5  กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในขณะนี้ จนล่าสุดรัฐบาลได้ออกมาประกาศให้โรงเรียนรัฐบาลมากกว่า 400 แห่งในกรุงเทพฯ
ให้ยกเลิกการเรียนการสอนในช่วงเที่ยงของวันพุธที่ 30 ม.ค.62 ส่วนโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ และ โรงเรียนตามจังหวัดต่างๆ ที่อยู่โดยรอบจะปิดการเรียนการสอนในวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค.62 และวันศุกที่ 1 ก.พ.62[1]  ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อลดผลกระทบทางสุขอนามัย นับเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและใส่ใจ โดยมีมาตรการต่างๆ รองรับ ทั้งมาตรการลงโทษ มาตรการป้องปราม มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ทุกภาคส่วน
เห็นความสำคัญ ใส่ใจ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน บางประเทศกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ด้านการลดมลพิษ มีการกำหนดพื้นที่ไม่ให้มีการก่อสร้างขนาดใหญ่จนเกิดมลพิษ การควบคุมการปล่อยควัน ฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศอย่างเข้มงวด การสร้างถนนไร้ฝุ่น การกำหนดให้ใช้รถไฟฟ้าในบางเมืองเท่านั้น การกำหนดโซนนิ่งในการควบคุมปริมาณรถ ฯลฯ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการวางรางฐานการปัองกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว ที่สามารถผ่านขนจมูก ขี้มูก โพรงจมูก คอ หลอดลมใหญ่ ขนพัดโบก เสมหะ หลอดลมเล็ก หลอดลมย่อย ไปตกที่ถุงลมได้โดยตรง และเป็นหนึ่งในมาตรวัดหลักของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI ) [2]  ซึ่งจากข้อมูลของ airvisual.com ซึ่งวัดระดับมลพิษตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก พบว่า ค่า AQI ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 175 ส่งผลให้เมืองหลวงของไทยแห่งนี้ รั้งอันดับ 5 ของเมืองที่กำลังเผชิญมลพิษร้ายแรงสุดของโลก โดยมี นิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ครองอันดับ 1 มีค่า AQI อยู่ที่ 257
กรมควบคุมมลพิษของไทย รายงานว่า คุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ ได้แตะระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ด้วยผลการวัดค่าฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ( PM 2.5 ) นั้น สูงกว่าระดับที่ปลอดภัยใน 41 พื้นที่รอบๆ เมืองหลวง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการให้ความสำคัญ ขาดการดูแลและเอาใจใส่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้ง ปัญหาการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขาดมาตรการการควบคุมด้านมลพิษ ปัญหาการปล่อยควัน ฝุ่นละออง และมลพิษจากอาคาร ที่พัก โรงแรม ห้างร้าน และโรงงานต่างๆ ปัญหาการจราจร บรรทุก ขนส่งในเขตเมืองที่คับคั่งและขาดการกำกับดูแลเอาใจใส่ในมาตรการลงโทษทางกฎหมายผู้ผ่าฝืนกฎหมาย ปัญหาเส้นทางการจราจรที่เต็มไปด้วยมลพิษ ควันเสีย ฝุ่นละอองต่างๆ เป็นต้น
รัฐบาลไทยเริ่มให้ความสำคัญ หาวิธีการและแนวทางการแก้ไขปัญหา ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว หรือ PM 2.5 โดยการใช้เครื่องบินทำฝนเทียม การใช้โดรนปล่อยละอองน้ำบนอากาศ และการใช้รถดับเพลิงฉีดสเปร์น้ำละอองฝอย เพื่อให้ละอองน้ำผสมสารเคมีบางชนิดลองไปจับฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว หรือ PM 2.5 ให้ตกลงมาบนพื้นดิน เพื่อลดปริมาณ PM 2.5 ในอากาศ และบางอาคารสูงๆ เริ่มมีการติดตั้งเครื่องพ่นสเปร์ละอองน้ำ หรือฉีดน้ำเป็นฝอยลงมาจากตึกสูงเหมือนฝนตกเบาๆ เพื่อช่วยในการจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่แขวนลอยในอากาศ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ นับเป็นปรากฎการณ์แห่งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 แม้จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ที่ทุกภาคส่วนเริ่มเห็นความสำคัญกับปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะ
ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน ในส่วนของนักวิชาการเช่น นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ออกมาให้คำแนะนำวิธีการที่ถูกต้องในการติดตั้งเครื่องพ่นสเปร์ละอองน้ำ หรือฉีดน้ำเป็นฝอยลงมาจากตึกสูง ตามหลักวิชาการ[3]   เช่น
1. ต้องติดตั้งหัวกระจายน้ำเป็นฝอยบนหลังคาของตึกสูงไม่เกิน 100 เมตร เรียกว่า Skyscraper sprinkler system โดยจะพ่นละอองฝอยของน้าขนาด  0.1 - 3 ไมครอน ( ขนาดใกล้เคียงฝุ่น 2.5 ) ออกไปสู่บรรยากาศโดยรอบในรัศมีอย่างน้อย 50 เมตร เพื่อให้สามารถจับฝุ่นดังกล่าวลงสู่พื้นดินได้โดยต้องทำพร้อมกันหลายๆ ตึกในระดับความสูงไม่เกิน100 เมตรโดยทำในวันที่มีค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน และลมสงบ ( Bad day )
2. การพ่นละอองน้ำต้องทำอย่างต่อเนื่องกันอย่างน้อย 30 นาที และเว้นระยะ 30 นาที - 1 ชม. จึงพ่นต่อได้ จะสามารถลดฝุ่นลงได้ถึงร้อยละ 70 ในบริเวณดังกล่าว
3. ในต่างประเทศตึกที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือแม่น้ำที่สะอาดก็สามารถดูดขึ้นมาและพ่นออกไปเป็นฝอยเล็กๆได้ซึ่งจะประหยัด ใช้พลังงานน้อย และได้ผลกว่าที่คิด
4. วิธีการที่จะช่วยบรรเทาลดความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กลงที่ดีที่สุดคือ การไป x-ray พื้นที่ และจัดการกับแหล่งต้นกำเนิดมลพิษจะดีและถูกต้องที่สุด

จากแนวความคิดและวิธีการแก้ปัญหา PM 2.5 แบบง่ายๆ ดังกล่าว ที่ได้ผลแบบยั่งยืนระยะยาว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเจ้าของอาคารสูงในการติดตั้งอุปกรณ์ และการสนับสนุนของภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่าย ตลอดจนมาตรการส่งเสริมและจูงใจเจ้าของอาคารให้ช่วยกันติดตั้งอุปกรณ์ฯ เพื่อตอบแทนและรับผิดชอบต่อสังคม ( CSR ) โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จะเป็นมาตรการกระตุ้นและจูงใจให้เจ้าของอาคารสูงๆ หันมาให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา PM 2.5
ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT , เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( GIS ) มาบริหารจัดการพื้นที่และปริมาณมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยการติดตั้งเครื่องมือมาตรวัดต่างๆ เชื่อมโยงกับระบบเซ็นเซอร์ และระบบควบคุมอุปกรณ์เครื่องพ่นสเปร์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานแบบอัตโนมัติ เมื่อค่ามลพิษมีปริมาณสูงในระดับที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ทำนองเดียวกับ ระบบฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm เพื่อให้การป้องกัน บรรเทา ปัญหา PM 2.5 ประสบความสำเร็จ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการกำหนดมาตรการลงโทษ มาตรการป้องปราม มาตรการป้องกัน และมาตรการส่งเสริมสนับสนุน ในระยะยาว ต่อไป
---------------------------------------------------
อ้างอิง : 
[1] https://mgronline.com/around/detail/9620000010592
[2] https://www.airvisual.com/?fbclid=IwAR0s1gPX_vyxcW2l2iiNvykdlqa8yLkvQqeCzV-8C_dZdT88OhN6Lg7YKPQ