เทคโนโลยีและความร่วมมือ กับ การแก้ไขปัญหา PM 2.5
โดย พลเอก ฤทธี
อินทราวุธ
หัวหน้าที่ปรึกษา คณะทำงานฯ ด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม
---------------------------------------
ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว หรือที่เรียกกันว่า PM 2.5 กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในขณะนี้ จนล่าสุดรัฐบาลได้ออกมาประกาศให้โรงเรียนรัฐบาลมากกว่า 400 แห่งในกรุงเทพฯ
ให้ยกเลิกการเรียนการสอนในช่วงเที่ยงของวันพุธที่ 30
ม.ค.62 ส่วนโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ และ โรงเรียนตามจังหวัดต่างๆ
ที่อยู่โดยรอบจะปิดการเรียนการสอนในวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค.62
และวันศุกที่ 1 ก.พ.62[1] ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เพื่อลดผลกระทบทางสุขอนามัย นับเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและใส่ใจ โดยมีมาตรการต่างๆ รองรับ
ทั้งมาตรการลงโทษ มาตรการป้องปราม มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ทุกภาคส่วน
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว
ที่สามารถผ่านขนจมูก ขี้มูก โพรงจมูก คอ หลอดลมใหญ่ ขนพัดโบก เสมหะ หลอดลมเล็ก
หลอดลมย่อย ไปตกที่ถุงลมได้โดยตรง และเป็นหนึ่งในมาตรวัดหลักของดัชนีคุณภาพอากาศ (
Air Quality Index : AQI ) [2] ซึ่งจากข้อมูลของ airvisual.com ซึ่งวัดระดับมลพิษตามเมืองต่างๆ
ทั่วโลก พบว่า ค่า AQI ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 175 ส่งผลให้เมืองหลวงของไทยแห่งนี้ รั้งอันดับ 5 ของเมืองที่กำลังเผชิญมลพิษร้ายแรงสุดของโลก
โดยมี นิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ครองอันดับ 1 มีค่า AQI
อยู่ที่ 257
กรมควบคุมมลพิษของไทย รายงานว่า
คุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ ได้แตะระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ด้วยผลการวัดค่าฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ( PM 2.5 ) นั้น
สูงกว่าระดับที่ปลอดภัยใน 41 พื้นที่รอบๆ เมืองหลวง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการให้ความสำคัญ ขาดการดูแลและเอาใจใส่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทั้ง ปัญหาการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขาดมาตรการการควบคุมด้านมลพิษ ปัญหาการปล่อยควัน ฝุ่นละออง และมลพิษจากอาคาร ที่พัก โรงแรม ห้างร้าน และโรงงานต่างๆ ปัญหาการจราจร
บรรทุก ขนส่งในเขตเมืองที่คับคั่งและขาดการกำกับดูแลเอาใจใส่ในมาตรการลงโทษทางกฎหมายผู้ผ่าฝืนกฎหมาย
ปัญหาเส้นทางการจราจรที่เต็มไปด้วยมลพิษ ควันเสีย ฝุ่นละอองต่างๆ เป็นต้น
รัฐบาลไทยเริ่มให้ความสำคัญ
หาวิธีการและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว หรือ PM 2.5 โดยการใช้เครื่องบินทำฝนเทียม การใช้โดรนปล่อยละอองน้ำบนอากาศ และการใช้รถดับเพลิงฉีดสเปร์น้ำละอองฝอย
เพื่อให้ละอองน้ำผสมสารเคมีบางชนิดลองไปจับฝุ่นละอองอนุภาคขนาดจิ๋ว หรือ PM
2.5 ให้ตกลงมาบนพื้นดิน เพื่อลดปริมาณ PM 2.5
ในอากาศ และบางอาคารสูงๆ เริ่มมีการติดตั้งเครื่องพ่นสเปร์ละอองน้ำ หรือฉีดน้ำเป็นฝอยลงมาจากตึกสูงเหมือนฝนตกเบาๆ
เพื่อช่วยในการจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่แขวนลอยในอากาศ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ นับเป็นปรากฎการณ์แห่งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 แม้จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ที่ทุกภาคส่วนเริ่มเห็นความสำคัญกับปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะ
ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน
ในส่วนของนักวิชาการเช่น นายสนธิ คชวัฒน์
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ออกมาให้คำแนะนำวิธีการที่ถูกต้องในการติดตั้งเครื่องพ่นสเปร์ละอองน้ำ
หรือฉีดน้ำเป็นฝอยลงมาจากตึกสูง ตามหลักวิชาการ[3]
เช่น
1. ต้องติดตั้งหัวกระจายน้ำเป็นฝอยบนหลังคาของตึกสูงไม่เกิน
100 เมตร เรียกว่า Skyscraper sprinkler system โดยจะพ่นละอองฝอยของน้าขนาด 0.1 - 3 ไมครอน ( ขนาดใกล้เคียงฝุ่น
2.5 ) ออกไปสู่บรรยากาศโดยรอบในรัศมีอย่างน้อย
50 เมตร เพื่อให้สามารถจับฝุ่นดังกล่าวลงสู่พื้นดินได้โดยต้องทำพร้อมกันหลายๆ
ตึกในระดับความสูงไม่เกิน100 เมตรโดยทำในวันที่มีค่า PM
2.5 สูงเกินมาตรฐาน และลมสงบ ( Bad day )
2. การพ่นละอองน้ำต้องทำอย่างต่อเนื่องกันอย่างน้อย 30
นาที และเว้นระยะ 30 นาที - 1 ชม. จึงพ่นต่อได้ จะสามารถลดฝุ่นลงได้ถึงร้อยละ 70 ในบริเวณดังกล่าว
3. ในต่างประเทศตึกที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือแม่น้ำที่สะอาดก็สามารถดูดขึ้นมาและพ่นออกไปเป็นฝอยเล็กๆได้ซึ่งจะประหยัด
ใช้พลังงานน้อย และได้ผลกว่าที่คิด
4. วิธีการที่จะช่วยบรรเทาลดความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กลงที่ดีที่สุดคือ
การไป x-ray พื้นที่ และจัดการกับแหล่งต้นกำเนิดมลพิษจะดีและถูกต้องที่สุด
จากแนวความคิดและวิธีการแก้ปัญหา PM 2.5 แบบง่ายๆ ดังกล่าว
ที่ได้ผลแบบยั่งยืนระยะยาว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะเจ้าของอาคารสูงในการติดตั้งอุปกรณ์
และการสนับสนุนของภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่าย
ตลอดจนมาตรการส่งเสริมและจูงใจเจ้าของอาคารให้ช่วยกันติดตั้งอุปกรณ์ฯ เพื่อตอบแทนและรับผิดชอบต่อสังคม
( CSR ) โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
จะเป็นมาตรการกระตุ้นและจูงใจให้เจ้าของอาคารสูงๆ
หันมาให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา PM 2.5
ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
( IT ) ,
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( GIS ) มาบริหารจัดการพื้นที่และปริมาณมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
โดยการติดตั้งเครื่องมือมาตรวัดต่างๆ เชื่อมโยงกับระบบเซ็นเซอร์ และระบบควบคุมอุปกรณ์เครื่องพ่นสเปร์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานแบบอัตโนมัติ เมื่อค่ามลพิษมีปริมาณสูงในระดับที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย
ทำนองเดียวกับ ระบบฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm เพื่อให้การป้องกัน บรรเทา ปัญหา PM
2.5 ประสบความสำเร็จ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการกำหนดมาตรการลงโทษ มาตรการป้องปราม มาตรการป้องกัน และมาตรการส่งเสริมสนับสนุน
ในระยะยาว ต่อไป
---------------------------------------------------
อ้างอิง :
[1] https://mgronline.com/around/detail/9620000010592
[2] https://www.airvisual.com/?fbclid=IwAR0s1gPX_vyxcW2l2iiNvykdlqa8yLkvQqeCzV-8C_dZdT88OhN6Lg7YKPQ
[2] https://www.airvisual.com/?fbclid=IwAR0s1gPX_vyxcW2l2iiNvykdlqa8yLkvQqeCzV-8C_dZdT88OhN6Lg7YKPQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น