กิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง กระทรวงกลาโหม vs. ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ?
โดย พลเอก ฤทธี
อินทราวุธ
หัวหน้าที่ปรึกษา คณะทำงานด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม
---------------------------------------
กิจการอวกาศของประเทศไทย
ได้มีการดำเนินงานมานานแล้ว ทั้งในรูปแบบโดยตรงและโดยอ้อม ก่อนที่จะมีการจัดตั้ง
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ( องค์การมหาชน ) หรือ สทอภ.
( GISTDA ) ในปี 2543 หากพิจารณาจากนิยามคำว่า “ กิจการอวกาศ ” หมายถึง กิจกรรมอวกาศ
และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศ โดย “ กิจกรรมอวกาศ ” รวมความถึง การสำรวจ
การทดลองในอวกาศ การส่งวัตถุอวกาศ วัตถุ มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตขึ้นสู่อวกาศ การดำเนินการเพื่อการส่งหรือให้วัตถุอวกาศโคจรในอวกาศหรือกลับคืนสู่พื้นโลก
และ “ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศ ” รวมความถึง การออกแบบ การผลิตวัตถุอวกาศ การศึกษา
ค้นคว้า วิจัย หรือพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศหรือภูมิสารสนเทศ [1] ซึ่งประเทศไทยเราได้มีการศึกษา
ค้นคว้า วิจัยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ ภูมิสารสนเทศ และอวกาศ มานานแล้ว
ทั้งในสถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการสังเกตุการณ์ทางดาราศาสตร์
ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการ NASA ERTS-1 ซึ่งเป็น
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลก เมื่อ 14 กันยายน 2514
ภายใต้การดำเนินงานของ โครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม
สำนักงาน
ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร นับเป็นสถานีรับสัญญานดาวเทียมแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในปี 2543 กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่โดยรวม กองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ ฝ่ายประสานงานและส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป็น สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ถือเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการอวกาศของประเทศ[2]
กิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง กระทรวงกลาโหมได้มีแนวความคิดในการพัฒนาด้านกิจการอวกาศมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน [3] เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง เช่น
การสังเกตการณ์ห้วงอวกาศ การตรวจการณ์ทางอวกาศมายังภาคพื้นดินและพื้นน้ำ
การสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น
ซึ่งสามารถสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคงของเหล่าทัพ
ทั้งการปฏิบัติการภายในประเทศ และการปฏิบัติการร่วม/ผสมกับต่างประเทศ
อย่างสมบูรณ์และไร้ขีดจำกัด กระทรวงกลาโหมได้เคยมีหน่วย
ศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหม ( ศพอ.กห.) ตั้งแต่ 1 เมษายน 2539 และต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยและเปลี่ยนชื่อนามหน่วยเป็น
กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ( ทสอ.กห.) เมื่อ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังมีความสำคัญมากในขณะนั้น โดยยังคงมี
กองกิจการอวกาศ[4] ดูแลรับผิดชอบงานด้านกิจการอวกาศ
ของกระทรวงกลาโหม โดยมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน เสนอแนะ กำกับดูแล
และดำเนินการด้านกิจการอวกาศ และภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อความมั่นคง
นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ลงนามการจัดตั้งหน่วยงานสาขาใหม่ของกองทัพ
เมื่อ 18 มิถุนายน 2561 เป็น กองกำลังอวกาศ[5] หรือ สเปซฟอร์ซ ( Space Force ) เป็นหน่วยเอกเทศ มีสถานะ
เทียบเท่า
กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อให้มั่นใจว่า อเมริกาจะเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศไม่แพ้จีนและรัสเซีย
พร้อมได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหมเริ่มขั้นตอนการก่อตั้งหน่วยงานนี้ทันที
ในฐานะกองทัพที่ 6 ของสหรัฐอเมริกา มี พลเอกโจเซฟ ดันฟอร์ด
ประธานคณะเสนาธิการร่วม เป็น ผู้บังคับบัญชา
กิจการอวกาศ
เป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญไม่เฉพาะประเทศมหาอำนาจ ซึ่งประเทศไทยกำลังพิจารณายกร่างกฎหมาย
โดยตราเป็น พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ[6] พ.ศ. ..... โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อยกระดับกฎหมายด้านกิจการอวกาศของประเทศไทย
2. ให้ประเทศไทยมี
นโยบาย ทิศทาง และขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศทัดเทียมกับนานาชาติ
สามารถพึ่งพาตนเอง และนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคต
3. เพื่อกำกับกิจการอวกาศ
และส่งเสริมให้เทคโนโลยีอวกาศสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนในประเทศ
ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
4. เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของตามกฎหมายระหว่างประเทศ
เพื่อแสดงความรับผิดชอบร่วมกัน และแสดงให้เห็นว่า พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกในการดำเนินกิจการอวกาศ
ตามภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการดำเนินกิจการของรัฐเพื่อการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอกดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่น
ๆ ค.ศ. 1967
ความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศการส่งคืนนักอวกาศและการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก
ค.ศ. 1968 อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศค.ศ.
1972 และอนุสัญญาว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1975
กระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีภารกิจในด้านการพัฒนาประเทศ
และเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคง มองเห็นความสำคัญด้านกิจการอวกาศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญทั้งด้านการขับเคลื่อนนโยบาย
ดิจิทัล
เพื่อสนับสนุน “ ไทยแลนด์ 4.0 ” การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ การแก้ไขปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การป้องกันบรรเทาและช่วยเหลือภัยพิบัติต่างๆ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความมั่นคงต่างๆ จึงได้เร่งดำเนินการผลักดันการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง ให้เกิดความเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนแม่บท แผนงาน และการดำเนินการ รวมถึงการพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีขีดความสามารถและศักยภาพทางด้านกิจการอวกาศ เพื่อรองรับภารกิจและการปฏิบัติงานขององค์กรในระดับ “ ศูนย์กิจการอวกาศกลาโหม ” การสร้างองค์ความรู้ การสร้างการรับรู้ให้กับกำลังพล ตลอดจนการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรในกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และองค์กรภายนอก ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ...... และ แผนแม่บทกิจการอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ( National Space Master Plan 2017 - 2036 ) รวมถึงการเตรียมการด้านบุคลากรของกระทรวงกลาโหมในการรองรับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ จากการหมดสัญญาสัมปทาน ดาวเทียม THAICOM 4 ( IP STAR ) และ ดาวเทียม THAICOM 5 ซึ่งจะตกเป็นทรัพย์สินของรัฐภายใน 3 - 4 ปีข้างหน้า และโครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก หรือดาวเทียมถ่ายภาพ ความละเอียดขนาด 50 เซนติเมตร ตามโครงการ THEOS-2 ในอนาคตอันใกล้ภายใน 3 ปีนี้
เพื่อสนับสนุน “ ไทยแลนด์ 4.0 ” การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ การแก้ไขปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การป้องกันบรรเทาและช่วยเหลือภัยพิบัติต่างๆ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความมั่นคงต่างๆ จึงได้เร่งดำเนินการผลักดันการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง ให้เกิดความเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนแม่บท แผนงาน และการดำเนินการ รวมถึงการพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีขีดความสามารถและศักยภาพทางด้านกิจการอวกาศ เพื่อรองรับภารกิจและการปฏิบัติงานขององค์กรในระดับ “ ศูนย์กิจการอวกาศกลาโหม ” การสร้างองค์ความรู้ การสร้างการรับรู้ให้กับกำลังพล ตลอดจนการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรในกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และองค์กรภายนอก ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ...... และ แผนแม่บทกิจการอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ( National Space Master Plan 2017 - 2036 ) รวมถึงการเตรียมการด้านบุคลากรของกระทรวงกลาโหมในการรองรับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ โครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ จากการหมดสัญญาสัมปทาน ดาวเทียม THAICOM 4 ( IP STAR ) และ ดาวเทียม THAICOM 5 ซึ่งจะตกเป็นทรัพย์สินของรัฐภายใน 3 - 4 ปีข้างหน้า และโครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก หรือดาวเทียมถ่ายภาพ ความละเอียดขนาด 50 เซนติเมตร ตามโครงการ THEOS-2 ในอนาคตอันใกล้ภายใน 3 ปีนี้
การจัดสัมมนา “ กิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง ”[7]ของ
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ โรงแรมทินิดี โฮเต็ล เมื่อ 4 ธันวาคม 2561
นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมของการพัฒนาด้านกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง ของ
กระทรวงกลาโหม โดยมี พลอากากาศเอก
ปรเมศร์ เกษโกวิท รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานใน
พิธีเปิดการสัมมนาฯ ซึ่งมีหัวข้อในการสัมมนา
คือ 1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการอวกาศ 2. ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางอวกาศ
3.ความรู้เกี่ยวกับระบบดาวเทียมสื่อสาร 4.ความรู้เกี่ยวกับระบบดาวเทียมสำรวจ หรือดาวเทียมถ่ายภาพ
เพื่อสร้างความพร้อมด้านกิจการอวกาศ ของหน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหม
ให้สามารถนำเทคโนโลยีอวกาศไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางด้านความมั่นคง
รวมทั้งการรักษาผลประโยชน์ของชาติ การพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือประชาชน
กิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง
ของ กระทรวงกลาโหม เป็นเรื่องสำคัญที่มีการกล่าวถึงกันมานาน แต่ยังไม่สามารถทำให้ปรากฎมรรคผลอย่างเป็นรูปธรรม
เพราะหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ไกลเกินเอื้อม ไกลเกินฝัน
แต่ทุกอย่างย่อมมีจุดเริ่มต้น ส่วนจะไปได้ไกลแค่ไหน อยู่ที่ความมุ่งมั่นและความพยายาม ดังคำกล่าววลีเด็ดที่ว่า “ ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ” และคำว่า “ ล้มเหลวได้ แต่อย่าล้มเลิก ” 2 วลีนี้ ถ้าเรามีความเชื่อมั่นว่าทำได้ สักวันหนึ่งต้องสำเร็จ เช่นเดียวกับ “ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว ”
แต่ทุกอย่างย่อมมีจุดเริ่มต้น ส่วนจะไปได้ไกลแค่ไหน อยู่ที่ความมุ่งมั่นและความพยายาม ดังคำกล่าววลีเด็ดที่ว่า “ ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ” และคำว่า “ ล้มเหลวได้ แต่อย่าล้มเลิก ” 2 วลีนี้ ถ้าเรามีความเชื่อมั่นว่าทำได้ สักวันหนึ่งต้องสำเร็จ เช่นเดียวกับ “ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว ”
---------------------------------------------------
อ้างอิง :
[1] เอกสารการบรรยาย เรื่อง
กิจการอวกาศของประเทศไทย โดย นาย พีร์ ชูศรี รอง ผอ.สทอภ. ในการสัมมนา
กิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง กระทรวงกลาโหม เมื่อ 4 ธ.ค.61
[2] https://gistda.or.th/main/th/node/66
[2] https://gistda.or.th/main/th/node/66
[4] http://space.dist.mod.go.th/
[6] https://www.gistda.or.th/main/system/files_force/article/2582/file/document_space-14003.pdf?download=1[7] https://www.gistda.or.th/main/th/node/2865
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น