โครงการบัตรประชาชนอัจฉริยะเพื่อเชื่อมการบริการภาครัฐผ่านโทรศัพท์มือถือ
( Smart
Card 4 Smart Phones )
โดย พ.อ.ฤทธี อินทราวุํธ
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร
นักศึกษาหลักสูตร วปอ. 2555
หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาล โดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ได้มีแผนงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบูรณาการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (
e – Government ) โดยจัดทำโครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
และโครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเตรียมการรองรับการเข้าร่วมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( Asean Economics Community : AEC ) ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย โดย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
กำลังเร่งดำเนินการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารของประเทศ
ไปสู่ระบบ 3G และ 4G ตามลำดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ
ของโทรศัพท์มือถือ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชน
กฎหมายได้กำหนดให้คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป จะต้องทำบัตรประชาชนทุกคน
ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นบัตรประจำตัวประชาชนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (
Smart Card ) โดยมีทั้งชิปวงจรข้อมูล (Microchip) และแถบรหัสแท่ง (Bar code) ซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าว
ส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ตามคุณสมบัติ
และขีดความสามารถ
ที่มีอยู่เท่าที่ควร เนื่องจากบัตรดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลประจำตัวบุคคลพื้นฐานที่จำเป็น และการใช้งานจำเป็นจะต้องใช้เครื่องอ่านข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่ติดตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ หรือส่วนราชการบางหน่วยงาน ทำให้ไม่มีความสะดวกในการใช้งานนอกสถานที่ และประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในบัตรดังกล่าวได้ ประชาชนส่วนใหญ่โดยทั่วไปที่มีบัตรประจำตัวประชาชน จึงนำมาใช้งานเพียงการถ่ายสำเนาเอกสารบัตรฯ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ เท่านั้น นับเป็นการลงทุนจัดทำบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่คุ้มค่า และใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่เท่าที่ควร
ที่มีอยู่เท่าที่ควร เนื่องจากบัตรดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลประจำตัวบุคคลพื้นฐานที่จำเป็น และการใช้งานจำเป็นจะต้องใช้เครื่องอ่านข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่ติดตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ หรือส่วนราชการบางหน่วยงาน ทำให้ไม่มีความสะดวกในการใช้งานนอกสถานที่ และประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในบัตรดังกล่าวได้ ประชาชนส่วนใหญ่โดยทั่วไปที่มีบัตรประจำตัวประชาชน จึงนำมาใช้งานเพียงการถ่ายสำเนาเอกสารบัตรฯ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ เท่านั้น นับเป็นการลงทุนจัดทำบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่คุ้มค่า และใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่เท่าที่ควร
ดังนั้นการพัฒนาต่อยอด แผนงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบูรณาการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
และโครงการบัตรประจำตัวประชาชนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ของ โครงการบัตรประชาชนอัจฉริยะเพื่อเชื่อมการบริการภาครัฐผ่านโทรศัพท์มือถือ
( Smart Card 4 Smart Phones ) จึงมีความจำเป็น
และสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑
ของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งได้กำหนด วัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติ
ข้อที่ ๔๗ ว่า ประชากรไทยสามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างทั่วถึงคุ้มค่า
และมีประสิทธิภาพ โดยมี นโยบายส่งเสริมการบริการสาธารณะด้าน ICT
แก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพโดยมุ่งเน้นด้านการศึกษาและการบริการภาครัฐ ตามมาตรการส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและความมั่นคงของมนุษย์
เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และด้านการทหาร
เพราะประชาชนคนไทยทุกคนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จะสามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานบางส่วนเท่าที่จำเป็นในด้านต่างๆ ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
ผ่านระบบ 3G หรือระบบ WiFi โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนอัจฉริยะแบบ
All in One ร่วมกับอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือแบบ Smart
Phones ซึ่งมีอุปกรณ์กล้องถ่ายรูปที่สามารถจับภาพรหัส หรืออ่าน Quick
Response Code (QR Code) ได้โดยตรง หรือผ่านแอฟฟริ เคชั่น เพื่อแสดงข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นบางส่วนของข้อมูล
ทะเบียนราษฎร์ ประวัติทางการแพทย์ ระบบการประกันสังคม
ระบบการรักษาพยาบาลแบบจ่ายตรง ข้อมูลทะเบียนทหาร
ข้อมูลพนักงานข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลใบขับขี่ ข้อมูลหนังสือการเดินทางระหว่างประเทศ
( Passport ) ข้อมูลบัตรธนาคาร ( Credit Card ) ข้อมูลการกระทำความผิดตามกฎหมาย เป็นต้น รวมถึงการเข้าใช้งานบริการข้อมูลด้านสารสนเทศ
และระบบงานบริการต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชน
โดยปกติทั่วไป ประชาชนคนไทยจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนพกพาติดตัวอยู่เสมอ
โดยเฉพาะขณะเดินทางออกนอกบ้านเพื่อใช้ในการแสดงตน และในกรณีที่ประสบอุบัติภัยได้รับบาดเจ็บสาหัส
ผู้ประสบเหตุการณ์สามารถจะเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์
โดยเฉพาะกรุ๊ฟเลือดของผู้บาดเจ็บสาหัส หรือข้อมูลการบริจาคอวัยวะร่างกายของผู้เสียชีวิต
เพื่อการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์และประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องผ่านระบบโทรศัพท์มือถือได้ทันที
ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานเข้าถึงการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและธุรกิจเอกชนผ่านแอฟฟริเคชั่นบนระบบโทรศัพท์มือถือ
นักเรียนและนักศึกษาสามารถใช้งานเข้าถึงการบริการทางการศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและเอกชนผ่านแอฟฟริเคชั่นบนระบบโทรศัพท์มือถือ
การตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย ของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
โดยเฉพาะผู้ต้องหากระทำความผิดและหลบหนีคดี
การตรวจสอบข้อมูลหนังสือการเดินทางระหว่างประเทศ กรณีการเปิดประเทศหลังการเข้าร่วมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ตลอดจนสามารถตรวจสอบสิทธิ์และการใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งต่างๆ
ตามกฎหมาย รวมถึงการใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาต่อยอดอยู่ ๓ ส่วนคือ การพัฒนาระบบ QR Code และข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในบัตรประจำตัวประชาชน การพัฒนาแอฟฟริเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
และการพัฒนาแอฟฟริเคชั่นบนระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งการบูรณาการระบบงานและฐานข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอัจฉริยะนี้เข้าถึงการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและเอกชน ( e – Services ) และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
( e – Business ) ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย
มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงของมนุษย์ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อต่อยอดแผนงาน/โครงการต่างๆ
ที่มีอยู่และกำลังจะพัฒนาในอนาคตทั้งภาครัฐและเอกชน
โดยบูรณาการการใช้งานร่วมกับบัตรประจำตัวประชาชน
๒. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงการบริการด้าน
ICT และหน่วยงานต่างๆ
ได้รับประโยชน์จากบัตรประจำตัวประชาชนอย่างคุ้มค่า
๓. เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
และความมั่นคงของมนุษย์ให้กับประชาชนคนไทย ด้วยการเข้าถึงการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและเอกชน
และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะโครงการ
โครงการบัตรประชาชนอัจฉริยะเพื่อเชื่อมการบริการภาครัฐผ่านโทรศัพท์มือถือ ( Smart Card 4 Smart Phones ) เป็นการต่อยอดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อรองรับโครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
และโครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
และการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารของประเทศ ไปสู่ระบบ 3G และ 4G ตลอดจนการรองรับด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน เพื่อให้ประชาชน
และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถรับประโยชน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
( ICT ) จากการใช้บัตรประจำตัวประชาชนได้อย่างคุ้มค่า
ทุกเวลา และทุกสถานที่
แนวทางการดำเนินการ
การดำเนินการจะต้องมีการบูรณาการการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีมาตรฐานในการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ
แบบ Smart Phones โดยการการพัฒนาต่อยอดทั้ง ๓ ส่วน คือ
๑. การพัฒนาระบบ QR Code และข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในบัตรประจำตัวประชาชน
โดย กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อจัดเก็บข้อมูลประจำตัวบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียกใช้งานทั้ง
แบบ Real-Time คือ การใช้กล้องในโทรศัพท์มือถือส่อง QR
Code บนบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลก็จะแสดงผลข้อมูลประจำตัวบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นได้ทันที
และแบบ Snapshot / Capture คือ ต้องเปิดแอฟ ฟริเคชั่นแล้ว ถ่ายภาพ
QR Code จากบัตรประจำตัวประชาชนจากกล้องมือถือก่อนจึงประมวลผลออกมา
หรือการดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านระบบเครือข่าย 3G
หรือ WiFi
๒. การพัฒนาแอฟฟริเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ โดย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ
ผู้ผลิตแอฟฟริเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานตามข้อ ๑
ของหน่วยงานต่างๆ รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยในการใช้งานโดยการตรวจสอบภาพลายนิ้วมือ
( Finger Print ) ของเจ้าของบัตรด้วยแอฟฟริเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
๓. การพัฒนาแอฟฟริเคชั่นบนระบบสารสนเทศ ของ หน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบูรณาการระบบงานและฐานข้อมูลต่างๆ
ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการทำงาน เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงการบริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและเอกชน
ตลอดจนการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ผู้รับผิดชอบโครงการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการดำเนินการ
|
เจ้าภาพหลัก
|
หน่วยรับผิดชอบหลัก
|
หน่วยสนับสนุน
|
ระยะเวลา
|
งบประมาณ
|
การพัฒนาระบบ QR Code
|
ทก.
|
ทก.
|
ทก.
|
||
การจัดทำข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในบัตรประจำตัวประชาชน
|
ทก.
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
||
การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบอัจฉริยะ
|
มท.
|
มท.
|
มท.
|
||
การพัฒนาแอฟฟริเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
|
ทก.
|
ทก.
|
ผู้ผลิตแอฟฟริ-เคชั่นบนโทรศัพท์
มือถือ
|
||
การพัฒนาแอฟฟริเคชั่นบนระบบสารสนเทศ ของ หน่วยงาน
|
ทก.
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
||
การบูรณาการระบบฐานข้อมูล
|
ทก.
|
ทก.
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
ในด้านการบูรณาการและการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และการนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างคุ้มค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๒. ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ได้รับประโยชน์จากการใช้บัตรประจำตัวประชาชนอย่างคุ้มค่า
๓.
ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการนำบัตรประชาชนไปใช้งานต่างๆ สามารถเข้าถึงการบริการด้าน
ICT และได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และมีความมั่นคงของมนุษย์เพิ่มขึ้น
--------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น