วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวทางการพัฒนา IT ของ กองทัพ เพื่อรองรับ ประชาคมอาเซียน

แนวทางการพัฒนา IT ของ กองทัพ เพื่อรองรับ ประชาคมอาเซียน
โดย พันเอก ฤทธี  อินทราวุธ
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร

ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการได้ยินได้ฟังคำว่า AEC และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษา ต่างตื่นตัวให้ความสนใจ และมีการรณรงค์เพื่อให้ความรู้ต่าง ๆ ในการเตรียมตัวของประเทศและคนไทย เพื่อการเข้าร่วมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economics Community : AEC )  และมีหลายต่อหลายคน หน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมถึง ผู้บังคับบัญชา หรือ หัวหน้าหน่วยงานบางท่าน ยังสับสนมึนงงว่า มันอะไรกันแน่ ? แล้วหน่วยงานของตน มันไปเกี่ยวข้องอย่างไร ? และในฐานะอะไร ? ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่าย ความชัดเจน และมีความเข้าใจตรงกัน จึงขอกล่าวถึงที่มาที่ไปดังนี้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ ประกอบด้วย ไทย  พม่า ลาว
เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน  เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ  ระดับโลก
ประชาคมอาเซียน เปรียบกับการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พร้อมกับมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกัน ให้สำเร็จภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. 2015) พร้อมกับมีการแบ่งประชาคมย่อย ออกเป็น ๓ ประชาคม หรือ ๓ เสาหลัก ได้แก่
๑. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community :APSC)
๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economics Community :AEC)
๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN  Socio - Cultural Community : ASCC)
จากประชาคมย่อย หรือ เสาหลัก ทั้งสาม ก็จะเห็นได้ว่า มันเป็นการรวมตัวในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ  ทั้ง ด้านการเมืองและความมั่นคง (APSC) ด้านเศรษฐกิจ (AEC) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (ASCC)  ไม่ใช่เฉพาะด้านเศรษฐกิจ (AEC)  ตามที่หลายคนเข้าใจ แต่ทั้งนี้เป็นเพราะการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ และการเน้นน้ำหนักของประเทศส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญไปในด้านเศรษฐกิจ (AEC)  เป็นหลัก จึงทำให้ส่วนราชการและองค์กร ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับด้านการเมือง ด้านสังคมจิตวิทยา และด้านความมั่นคง หลายหน่วยเกิดความสบสนว่า หน่วยงานของตนซึ่งไม่ได้มีภารกิจเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจจะต้องมีการเตรียมการอย่างไร ? ในการเข้าร่วมเป็นประชาคมฯ ภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในเสาหลักด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยโดยตรงหรือโดยอ้อม จะขอกล่าวถึงอีก ๒ ประชาคมย่อย ดังนี้
๑. ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community :APSC) ซึ่งเป็นความร่วมมือหนึ่งในสามเสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด โจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
๒. ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN  Socio - Cultural Community : ASCC) ซึ่งมีเป้าหมาย ให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมี แผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน เพื่อรองรับการเข้าร่วมสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีการจัดทำแผนงานและมาตรการต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อรองรับทั้ง ๓ เสาหลัก ซึ่งในส่วนเกี่ยวข้องกับด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีดังนี้
. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยให้ความสำคัญในด้านการเชื่อมต่อความเร็วสูง (High Speed Inter - Connection) และการเพิ่มศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่าย (Cyber - Security Network)
. การส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงบวก โดยเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ต
๓. การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกระดับการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต
. การเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ
. ด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และการก่อการร้าย

กองทัพ ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญ ด้านความมั่นคง ปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางสังคม เช่น ปัญหาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ ปัญหาการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้น กองทัพ จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรองรับบทบาทของประเทศในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ให้สอดคล้องกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนี้
. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยให้ความสำคัญในด้านการเชื่อมต่อความเร็วสูง (High Speed Inter - Connection) และการเพิ่มศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่าย (Cyber - Security Network)
ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทของกองทัพ บางเหล่าทัพยังขาดการพัฒนา โดยเฉพาะด้านโครงข่ายเชื่อมโยงระบบ (Network) ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอยู่ในสถานภาพที่ไม่ครอบคลุมอย่างทั่วถ และเพียงพอต่อความต้องการในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของหน่วย ซึ่งมีที่ตั้งกระจัดกระจายไปทั่วประเทศ รวมถึงประสิทธิภาพของโครงข่ายเชื่อมโยงส่วนใหญ่ยังไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะรองรับทคโนโลยีปัจจุบัน ตลอดจนประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ ทำให้การใช้ระบบสารสนเทศของกองทัพบางหน่วยงาน ไม่สามารถที่จะนำมาใช้งานด้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ดังนั้น การเตรียมการของกองทัพ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสน เทศของประเทศ โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อความเร็วสูง (High Speed Inter-Connection) และการเพิ่มศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่าย (Cyber - Security Network) ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรองรับการเข้าร่วมสู่ประชาคมอาเซียน  ในปี ๒๕๕๘ จึงควรพิจารณาดำเนินการต่างๆ ดังนี้
๑.๑ การศึกษาเส้นทางของการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมต่อความเร็วสูง (High Speed Inter-Connection) ของประเทศ และโครงข่ายอื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อการเชื่อมโยง และบูรณาการการใช้งานอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อกองทัพ โดยไม่เกิดการลงทุนซ้ำซ้อน
๑.๒ การจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายเชื่อมโยงระบบ ( Network) ของกองทัพ เพื่อการเชื่อมโยงกับโครงข่ายการเชื่อมต่อความเร็วสูงของประเทศ และโครงข่ายอื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาต่อยอดโครงข่ายต่างๆ ที่มีอยู่ในด้านปริมาณและด้านประสิทธิภาพ ให้ครอบคลุมความต้องการในการปฏิบัติภารกิจ
๑.๓ การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือบันทึกความเข้าใจ ( MOU ) กับส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่องโยงและบูรณาการการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อกองทัพ
๑.๔ การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่าย (Cyber - Security Network) ของกองทัพ ที่มีอยู่ปัจจุบันและในอนาคต ให้มีมาตรฐานสากล
๑.๕ การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Cyber Force) ของกองทัพ ด้านเครื่องมือและบุคคลากรให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อการรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์ (Cyber Threat)

. การส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงบวก โดยเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ต กองทัพ ได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การบริการด้านสารสนเทศแก่หน่วยงานและกำลังพล แต่เนื่องจากปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณรวมถึงความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกองทัพ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะปัญหา Lead Line ซึ่งบางเหล่าทัพยังต้องอาศัยเส้นทางและงบประมาณผ่านองค์กรอื่น จึงทำให้บางหน่วยงานนิยมใช้การบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ประเภท  ADSL หรือ ISDN ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ
ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของหน่วยและกำลังพลของกองทัพเกิดประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง จึงเห็นควรพิจารณาดำเนินการเช่า Lead Line เป็นการเฉพาะ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและควบคุมกำกับดูแลการบริการอินเทอร์เน็ตและด้านการรักษาความปลอดภัยหน่วยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณประจำปีอย่างเหมาะสม เพื่อให้หน่วยและกำลังพลสามารถเข้าถึงการบริการด้านสารสนเทศอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง

๓. การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกระดับการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต กองทัพได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการจัดการองค์ความรู้ ( Knowledge Management ; KM ) ของหน่วยต่างๆ รวมถึงระบบการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Learning ) ของหน่วยจัดการศึกษาและหน่วยสายวิทยาการของกองทัพ แต่เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว ยังขาดการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเท่าที่ควร ทำให้การนำผลผลิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและกำลังพลยังไม่ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มที่
ดังนั้น เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกระดับการศึกษา รวมถึงการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ตของกองทัพ เกิดประสิทธิภาพ จึงเห็นควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
๓.๑ การสร้างแรงจูงใจให้กับหน่วยงานและบุคคลากรในดำเนินการจัดการองค์ความรู้   ( Knowledge Management ; KM ) ของหน่วยต่างๆ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระเชิงคุณภาพ มีมาตรฐานและเกิดประโยชน์ต่อกองทัพ ตลอดจนกำลังพลที่เข้ามาเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
๓.๒ การรณรงค์ ปลูกฝัง และสร้างแรงจูงใจให้กับกำลังพลทุกระดับชั้น เห็นความสำคัญในการเข้ามาเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้ รวมถึงการนำไปใช้ในการฝึกร่วมผสม และการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพต่างประเทศ
๓.๓ การบริหารจัดการระบบการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Learning ) อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีความเป็นเอกภาพ ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในด้านข้อมูลและการทำงาน โดยกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลัก รับผิดชอบดำเนินการในเนื้อหาแต่ละเรื่องให้จัดเจน และให้หน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่นำไปใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
๓.๔ กำหนดมาตรฐานศึกษาของระบบการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์   ( e-Learning ) ให้เป็นการศึกษาตามแนวทางการรับราชการ และผู้สำเร็จการศึกษาจะมีโอกาสความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการเทียบโอนหน่วยกิตการศึกษาของสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้

. การเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ กองทัพถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญในการรับมือภัยพิบัติของประเทศ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ อาทิเช่น อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น กองทัพได้ดำเนินการปรับปรุงภารกิจของหน่วยและมีการฝึกซ้อมกำลังพลเพื่อรองรับภารกิจพิเศษนี้ ซึ่งการเตรียมการดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นหลัก ยังขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับภารกิจด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักตามรัฐธรรมนูญ และการนำเทคโนโยลีสารสนเทศและการสื่อสาร มาประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ดังนั้น เพื่อให้การเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติของกองทัพ เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น จึงเห็นควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
๔.๑ การจัดตั้ง หน่วยบรรเทาสาธารณภัย ในหน่วยกำลังระดับกองพันหรือเทียบเท่า ในพื้นที่เสี่ยงซึ่งมีภัยพิบัติเกิดขึ้นเป็นประจำและซ้ำซาก ให้มียานพาหนะ เครื่องมือ และกำลังพลอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจโดยตรง และไม่มีผลกระทบกับภารกิจด้านการป้องกันประเทศ
๔.๒ การนำเทคโนโยลีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านการเตรียมการระดมสรรพกำลัง การแจ้งเตือนภัยประชาชนในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารจัดการภัยพิบัติ และการติดต่อสื่อสารในกรณีที่ระบบโทรคมนาคมปกติเสียหาย
๔.๓ การเชื่อมโยงระบบเทคโนโยลีสารสนเทศและการสื่อสาร กับหน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เพื่อเกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงาน ตลอดจนไม่เกิดความคับคั่งและความซ้ำซ้อนในการทำงาน

. ด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และการก่อการร้าย ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และการก่อการร้าย นับวันจะเพิ่มทวีคูณมากขึ้น ตามความเจริญก้าวหน้าด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองทัพนับเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทสำคัญหน่วยหนึ่งด้านปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะกรณีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้อย่างกว้างขวาง และมีการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้งาน เพื่อสร้างความเสียหายและความสูญเสียต่อประเทศชาติ เจ้าหน้าที่ และประชาชนในพื้นที่ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และการทหาร
ดังนั้น กองทัพจะต้องเร่งพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว ซึ่งได้คุกคามด้านความมั่นคงและความเชื่อมั่นของประเทศมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน และนานาประเทศ ขาดความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ ขาดความเชื่อมั่นในการค้าการลงทุน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ขาดความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
๕.๑ การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของกองทัพ เพื่อให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อการรับมือภัยคุกคามดังกล่าว
๕.๒ การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพด้านบุคคลากรของกองทัพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อการติดตาม เฝ้าระวัง การป้องกัน และการตอบโต้
๕.๓ การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ไม่เป็นภาระต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ มาประยุกต์ใช้งานในด้านการรักษาความปลอดภัยบุคคลและสถานที่ รวมถึงการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฯ เช่น ระบบ Sensor , ระบบ Scan , ระบบ X-Ray , ระบบ Micro ship ฯลฯ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone)
๕.๔ การกำหนดมาตรการการใช้งานอุปกรณ์ ICT ของผู้ใช้งานในพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ความมั่นคงพิเศษ เพื่อควบคุมและจำกัดเสรีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของฝ่ายตรงข้าม

จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทัพ เพื่อการเตรียมการรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ตามกรอบการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ เชื่อได้ว่าจะทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมในปี ๒๕๕๘ อย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น