สมรภูมิเฟซบุ๊กภูมิภาคอาเซียนร้อนระอุ
โดย พลโท ฤทธี
อินทราวุธ
ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงกลาโหม
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และไซเบอร์
ประเด็น Facebook
กลายเป็น Talk of the Town กรณีนายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า นายมาร์ก
ซักเคอร์เบิร์ก ( Mark Zuckerberg ) ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังจะมาเยือนไทย
ปลายเดือนตุลาคมนี้
และมีกำหนดจะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ในวันที่
30 ต.ค.60 นั้น
ล่าสุดทางเฟซบุ๊กสำนักงานที่สิงคโปร์ ได้ส่งข้อความสั้นๆ มายังสื่อมวลชนในไทย
โดยอ้างโฆษกของเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ There are no plans
currently for any of our senior leaders to visit Thailand .” : Facebook
spokesperson หรือ แปลเป็นไทยว่า “ ผู้บริหารระดับสูงของเฟซบุ๊กยังไม่มีกำหนดการจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในช่วงนี้
”[1]
เรื่องดังกล่าว กลายเป็นประเด็นทางสื่อต่างๆ และสังคมโซเชียล
ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่? เพราะ ต่างคาดหวังว่า การที่นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ( Mark Zuckerberg ) ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กและผู้บริหารระดับสูงมาพบนายกรัฐมนตรีจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติบ้านเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจ
และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติตามที่นายกรัฐมนตรีชี้แจงสื่อ[2]
การที่ทาง Facebook ได้ออกมายืนยันว่านายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
CEO Facebook ยังไม่มีแผนมาไทยในช่วงนี้นั้น อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งมาจากการนำเสนอข่าวของสื่อต่างๆในไทย จนทำให้ทางเฟซบุ๊กสิงคโปร์กังวลว่า
หากการพบปะเจรจาในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อทางสิงคโปร์โดยตรง
เพราะสิงคโปร์ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเครือข่ายเฟซบุ๊กในภูมิภาคอาเซียน
ซึ่งที่ผ่านมาเฟซบุ๊กกับรัฐบาลไทยนั้นมีการร่วมงานกันมานานแล้ว และนายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ( Mark Zuckerberg ) ก็ได้มีแผนมาประเทศไทยจริง
แต่เป็นการเดินทางเพื่อคุยกับผู้นำของไทยแบบส่วนตัว ด้วยเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว ไม่อยากเป็นข่าวใหญ่โต ต้องการมาพบนายกฯ เป็นการส่วนตัว และไม่ต้องการให้เป็นข่าวใหญ่โตจนสื่อมารอดักสัมภาษณ์
เมื่อเรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โตจำอาจเป็นสาเหตุให้นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยกเลิกการเยือนไทยในครั้งนี้
สำหรับประเด็นข้อกังวลของทางเฟซบุ๊กสิงคโปร์เชื่อว่า การพบปะในครั้งนี้ นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ( Mark Zuckerberg ) จะมีการคุยกับรัฐบาลไทยในหลายเรื่อง
โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ( Eastern Economic Corridor หรือ EEC ) หรือพื้นที่พิเศษ ที่รัฐบาลตั้งใจส่งเสริมการลงทุน
โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีในเมืองใหม่
และมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติ ซึ่งทางเฟซบุ๊กก็น่าสนใจจะร่วมลงทุนในโครงการนี้เช่นกัน
เพราะที่ตั้งของประเทศไทยเป็น Landmark ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้
และจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กของไทยอยู่ในลำดับที่ 8 ของโลก มีจำนวนมากถึง
46 ล้านยูสเซอร์[3] ซึ่งมีการนำเฟซบุ๊กมาใช้เป็นช่องทางธุรกิจการค้าในหลายๆด้าน
รวมถึงแนวคิดในการที่จะย้ายศูนย์กลางเครือข่ายเฟซบุ๊กของภูมิภาคนี้มาตั้งอยู่ที่ประเทศไทย
ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิงคโปร์อย่างเห็นได้ชัด อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ สมรภูมิเฟซบุ๊กภูมิภาคอาเซียน
ร้อนระอุ !!!
-------------------------------------------
อ้างอิง :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น