การช่วยเหลือนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว
ปัญหาการช่วยเหลือนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว ซึ่งเลยพัทยาบีชไป 400 ม. ภายในถ้ำเขาหลวง ระยะทาง กว่า 10 กม. ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางการมุดดำน้ำในโพรงใต้น้ำเล็กๆ ระยะทางยาวหลายจุด เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งของ จนท.ทีมหน่วยซีลที่ทำการช่วยเหลือออกมา ซึ่งบางส่วนตั้งฐานปฏิบัติการช่วยเหลือส่วนหน้าในพื้นที่โถง 3 อีกส่วนหนึ่งต้องอยู่เป็นเพื่อนคอยดูแลเด็กๆ ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ที่เนินนมสาว ภายในถ้ำเขาหลวง ซี่งเป็นทีมปฏิบัติงาน จึงไม่มีเวลาในการวิเคราะห์ วางแผน อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย
ทีมวิเคราะห์ วางแผนการปฏิบัติการช่วยเหลิอการนำเด็กออกมา ซึ่งอยู่ที่ศูนย์อำนวยการหลักภายนอกถ้ำ จะต้องมีข้อมูลสภาพแวดล้อมของภูมิประเภทพื้นที่ปฏิบัติการช่วยเหลือที่ละเอียดทุกซอกทุกมุมเป็นปัจจัยสำตัญลำดับแรก จนถึงขณะนี้ 4 วันภายหลังเข้าถึงที่หมายที่พบเด็กๆ ติดอยู่เนินนมสาวตั้งแต่คืนวันที่ 2 ก.ค. ยังไม่มีปรากฎภาพกร๊าฟฟิคเส้นทาง และสภาพแวดล้อมของถ้ำ สภาพของโพรงถ้ำใต้น้ำ สภาพพื้นน้ำกว้าง ยาว ลึก สภาพพื้นบก กว้างยาว สูง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนการเคลื่อนย้าย เพื่อช่วยเหลือออกมา คงมีแต่ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดต่างๆ ที่ต้องจิตนาการหรือมโนตามว่าน่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
ข้อมูลสภาพแวดล้อมของภูมิประเภทของถ้ำ จากหน่วยซีลที่เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเป็นเพียงส่วนหนึ่งเพราะทัศนวิสัยจำกัดในการดำน้ำขุ่นๆ ข้อมูลอีกส่วนที่สำคัญคือจะได้จากการสอบถามเด็ก ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าตอนเดินมุดผ่านเข้าไปตอนน้ำยังไม่ท่วม เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ เพราะเส้นทางที่หน่วยซีลมุดดำน้ำเข้าไป อาจจะเป็นคนละโพรงหรือคนละเส้นทางกับที่เด็กๆ มุดเข้าไป เพราะดูจากคลิ้บที่หน่วยซีลเลี้อยมุดโพรงถ้ำเข้าไปแล้วแคบมาก เกินกว่าที่เด็กๆ คิดจะมุดผ่านเข้าไปที่เนินนมสาวก่อนน้ำจะท่วมโพรงถ้ำ ?
หากได้ข้อมูลตรงกันโดยละเอียดสภาพแวดล้อมของภูมิประเภทของถ้ำ เส้นทาง และอาณาบริเวณภายในถ้ำ ตลอดระยะทาง 10 กม. และโดยเฉพาะข้อมูลรายละเอียดแต่ละช่วงของการดำน้ำและโพรงถ้ำใต้น้ำ ทั้งระยะทาง ความกว้าง ความยาว และความลึก ก็จะช่วยในการวิเคราะห์ วางแผนการปฏิบัติการช่วยเหลิอการนำเด็กออกมาด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย
กรณีที่จำเป็นต้องนำเด็กๆ ดำน้ำออกมาตามเส้นทางใต้น้ำที่ยากลำบาก แคบ และมีระยะทางไกล จำเป็นต้องฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากแบบเต็มหน้า ( Full face) และการใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานานๆ เพื่อฝึกความเคยชิน การแก้ไขปัญหาน้ำซึมเข้าหน้ากาก การเตรียมเพิ่มอุปกรณ์เชือกลากจูง สำหรับชักรอกเพื่อช่วยเพิ่มให้การเคลื่อนที่ของเด็กๆ ได้เร็วขึ้น การจัดเตรียมสถานีพักเหนื่อยเหนือน้ำเพื่อออมแรงระหว่างทางเป็นระยะๆ การเตรียมถุงอุโมงค์อากาศใต้น้ำระหว่างทาง โดยเฉพาะปากทางเข้า-ออกโพรงอุโมงค์ถ้ำใต้น้ำแคบๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แก้ไขปัญหาการหายใจใต้น้ำและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ กรณีที่อุปกรณ์ดำน้ำเกิดปัญหาระหว่างการดำน้ำรอดอุโมงต์แคบๆใต้น้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=416443005522557&id=100014705822669
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น