ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน "หมูป่า อะคาเดมี่" ทั้ง 13 ชีวิต
ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน "หมูป่า อะคาเดมี่" ทั้ง 13 ชีวิต ผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าไปถึงจุดที่คาดว่าเด็กๆจะที่ติดอยู่บริเวณห้องโถงชั้นในถ้ำลึกกว่า 10 กม. ที่จะต้องผ่านกระแสน้ำเชี่ยว ลึก ขุ่นข้น มืด และระยะทางยาว ภายในถ้ำเป็นช่วงๆ
พื้นที่ปฏิบัติการที่มีลักษณะยากลำบาก ทำให้การปฏิบัติงานของ จนท.ชุดปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือฯ สูญเสียพละกำลัง และเวลา จากการเคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคที่มีระยะทางไกล
การนำเทคโนโลยีและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เช่น อุปกรณ์ช่วยการดำน้ำลึก (Deep Sea Scooter) , รอก ( Pulley) หรือ รอกทดแรง (Tensioner) เพื่อใช้ในการลำเลียง จนท. และถังอากาศออกซิเยนที่มีน้ำหนักมาก เข้าไปในพื้นที่ง่ายขึ้น จำนวนมากขึ้น และทุ่นแรง ทุ่นระยะเวลา
เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติการมีระยะทางไกลถึง 10 กม. จึงจำเป็นจะต้องมีการวางตำบลพักคอย หรือตำบลสนับสนุนระหว่างทางเป็นระยะๆ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างที่ใช้ปฏิบัติงานสำรองและเพิ่มเติมตลอดเวลา เช่น ถังอากาศออกซิเยน อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์แสงสว่าง แบตเตอรี่สำรอง อาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ช่วยชีวิต ยาเวชภัณฑ์ ต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติการมีความต่อเนื่องตลอดเวลา เช่นเดียวกับการปฏิบัติการทางทหาร หรือการปฏิบัติการรบแบบทหารราบ ที่จะต้องมีการหนุนเนื่อง มีความต่อเนื่องและความรวดเร็วแข่งกับเวลา เพราะเวลานาทีมีค่ามาก เด็กติดอยู่ในถ้ำอายุน้อยที่สุดเพียง 11 ปี ซึ่งต้องอดอาหารมากว่า 7 วัน !
แหล่งข้อมูล https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=411920899308101&id=100014705822669
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น