วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การจำลองการปฏิบัติเสมือนจริงหรือการทดสอบการเคลื่อนย้ายตามแผน เป็นสิ่งจำเป็น !

การจำลองการปฏิบัติเสมือนจริงหรือการทดสอบการเคลื่อนย้ายตามแผน เป็นสิ่งจำเป็น !

การปฏิบัติการช่วยเหลือเพื่อนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว ภายในถ้ำเขาหลวง ระยะทาง กว่า 10 กม. ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางการดำน้ำในโพรงถ้ำใต้น้ำแคบๆ ระยะทางยาวหลายจุด เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งของ จนท.หน่วยซีลที่จะทำการช่วยเหลือน้องๆ ออกมา ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย

ถึงแม้ว่าการปฏิบัติการช่วยเหลือโดยวิธีการเจาะเขาลงมายังโพรงถ้ำ เพื่อลำเลียงเด็กๆ ดึงขึ้นทางปล่องบนเขาจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งได้มีการสำรวจโพรงถ้ำจากด้านบนเขามากว่า 2 สัปดาห์ เพื่อหาทางทำการเจาะทะลุทะลวงลงมาถึงภายในถ้ำ เพราะการปฏิบัติการช่วยเหลือโดยการชักดึงทีมหมูป่าที่ 13 ชีวิต ขึ้นมาจากภายในถ้ำจะมีความปลอดภัยกว่าการเคลื่อนย้ายออกมาจากถ้ำด้วยการดำน้ำ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาหนทางการปฏิบัติดังกล่าวได้ เพราะระยะความสูงของพื้นดินด้านบนเขาลงมาจนถึงโพรงถ้ำประมาณ 500 - 1,000 เมตร และยังไม่ทราบตำแหน่งที่จะเจาะลงมาให้ตรงกันชัดเจน

กรณีที่จำเป็นต้องเลือกหนทางปฏิบัติด้วยการนำเด็กๆ ดำน้ำออกมาตามเส้นทางใต้น้ำที่ยากลำบาก และมีระยะทางไกลนั้น นอกจากการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากแบบเต็มหน้า ( Full face) และการใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานานๆ เพื่อฝึกความเคยชิน การเพิ่มอุปกรณ์เชือกลากจูง สำหรับชักรอกเพื่อช่วยเพิ่มให้การเคลื่อนที่ของเด็กๆ ได้เร็วขึ้น การเตรียมสถานีพักเหนื่อยเหนือน้ำเพื่อออมแรงระหว่างทางเป็นระยะๆ การเตรียมถุงอุโมงค์อากาศใต้น้ำระหว่างทาง โดยเฉพาะปากทางเข้า-ออกโพรงอุโมงค์ถ้ำใต้น้ำแคบๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้ว

การปฏิบัติการช่วยเหลือเพื่อนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจาก เนินนมสาว ภายในถ้ำเขาหลวง ระยะทาง กว่า10 กม. ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางการมุดดำน้ำในโพรงใต้น้ำเล็กๆ ระยะทางยาวหลายจุด เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งของ จนท.ทีมหน่วยซีลที่ทำการช่วยเหลือออกมา ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และปลอดภัย

ถึงแม้ว่าการปฏิบัติการช่วยเหลือโดยวิธีการเจาะเขาลงมา เพื่อลำเลียงดึงขึ้นทางปล้องบนเขาจะเป็นวิธที่ปลอดภัยกว่า ซุ่งได้มีการสำรวจโพรงถ้ำจากด้านบนมากว่า 2 สัปดาห์ เพื่อหาทางทำการเจาะทะลุทะลวงลงมาถึงภายในถ้ำ การปฏิบัติการช่วยเหลือสำหรับการชักดึงทีมหมูป่าที่ 13 ชีวิต ขึ้นมาจากภายในถ้ำอย่างปลอดภัยกว่าการเคลื่อนย้ายออกมาจากถ้ำด้วยการดำน้ำ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาหนทางการปฏิบัติดังกล่าวได้ เพราะระยะความสูงของพื้นดินด้สยบนเขาลงมาจนถึงโพรงถ้ำประมาณ 500 - 1,000 เมตร และไม่ทราบตำแหน่งที่จะเจาะให้ตรงกันชัดเจน

กรณีที่จำเป็นต้องเลือกหนทางปฏิบัติด้วการนำเด็กๆ ดำน้ำออกมาตามเส้นทางใต้น้ำที่ยากลำบาก แคบ และมีระยะทางไกลนั้น นอกจากการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการสวมหน้ากากแบบเต็มหน้า ( Full face) และการใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานานๆ เพื่อฝึกความเคยชิน การแก้ไขปัญหาน้ำซึมเข้าหน้ากาก การเตรียมเพิ่มอุปกรณ์เชือกลากจูง สำหรับชักรอกเพื่อช่วยเพิ่มให้การเคลื่อนที่ของเด็กๆ ได้เร็วขึ้น การจัดเตรียมสถานีพักเหนื่อยเหนือน้ำเพื่อออมแรงระหว่างทางเป็นระยะๆ การเตรียมถุงอุโมงค์อากาศใต้น้ำระหว่างทาง โดยเฉพาะปากทางเข้า-ออกโพรงอุโมงค์ถ้ำใต้น้ำแคบๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แก้ไขปัญหาการหายใจใต้น้ำและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ กรณีที่อุปกรณ์ดำน้ำเกิดปัญหาระหว่างการดำน้ำรอดอุโมงต์แคบๆใต้น้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้ว

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจำลองการปฏิบัติเสมือนจริงหรือการทดสอบการเคลื่อนย้ายตามแผน โดบใช้ จนท.หน่วยซีล 1 นาย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเด็ก ซึ่งช่วยตัวเองแทบไม่ได่ แล้วพากันเคลื่อนย้ายออกมา เพื่อทำการทดสอบแผนการปฏิบัติจริง การกะระยะเวลาเคลื่อนย้ายในแต่ละช่วง และการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินต่างๆ ตามสถานการณ์ นับเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะเป็นการซักซ้อมการปฏิบัติเพื่อหาวิธีการที่ดีและปลอดภัยที่สุดทำให้ทราบระยะเวลาจริง และทำให้เกิดความมั่นใจของ จนท.

การดำน้ำในถ้ำของต่างประเทศที่นำมาประกอบนี้ จะทำให้มองเห็นถึงความยากลำบากในการปฏิบัติการในครั้งนี้ ซึ่งนอกจากโพรงถ้ำจะแคบ ระยะทางยาว น้ำขุ่นมืดมองไม่เห็น และบางช่วงมีกระแสน้ำพัดแรง
จึงขอเป็นกำลังใจให้กับ จนท.ซีล ทุกคน และน้องๆ ทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ให้ สู้ๆ และทะยอยพากันออกมาในวันนี้ด้วยความปลอดภัยทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น