วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

กองทัพไทยกับการสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง

กองทัพไทยกับการสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
( Thai Armed Forces and Network Centric Warfare )
โดย พันเอก ฤทธี  อินทราวุธ
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร

หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้ง ก็ไม่มีอันตรายอันใด
ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่
หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้ง ที่มีการยุทธ์นั้นแล
ซุนวู ( Sun Tzu  )

ซุนวู  ( Sun Tzu  ) นักปราชญ์ชาวจีน และ นักยุทธศาสตร์ทหาร ในยุค ๔๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล หรือ ประมาณ ๒๔๐๐ ปีมาแล้ว ได้ให้ทัศนะเชิงปรัชญาถึง ความสำคัญของข้อมูลข่าวสาร ( Information ) ซึ่งก่อให้เกิดความได้
เปรียบ เสียเปรียบอย่างชัดเจน ดังคำกล่าวที่มักจะได้ยินได้ฟังกันอย่างคุ้นหูว่า “ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ” และในยุคปัจจุบันหากสามารถจะบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ให้มีความถูกต้อง ทันสมัย รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ก็จะยิ่งสร้างความได้เปรียบอย่างมหาศาล ดังที่หลายคนเคยกล่าวว่า “ ผู้ใดครอบครองข้อมูล ผู้นั้นจะครองโลก ” ซึ่งปัจจัยที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน                   ( Infrastructure ) ในการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารที่สำคัญหลัก ก็คือ เครือข่าย ( Network ) นั่นเอง
ดังนั้น ในยุคปัจจุบันแทบจะทุกองค์กรซึ่งเป็นองค์กรสมัยใหม่ ทั้งภาครัฐ และธุรกิจเอกชน ต่างหันมาให้ความสนใจกับคำว่า การใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric ) กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารต่างๆ รวมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่าย ที่ทำให้การเชื่อมต่อ และการสื่อสารระหว่างองค์กร และบุคคล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วทันเวลา 
ด้านวงการการทหาร การสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Warfare ) เป็นแนวคิดการทำสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ประกอบกับการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางทหารทั้งภายใน และระหว่างหน่วยทหาร ทั้งระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์ เพื่ออำนวยให้ข้อมูลข่าวสาร ภาพสถานการณ์ และคำสั่งการผ่านการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง ที่สำคัญจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถวิเคราะห์ ประมาณสถานการณ์ และตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทันเวลา และทันการ อันจะก่อให้เกิดความได้เปรียบในการทำสงคราม
กองทัพสหรัฐฯ นับว่าเป็นประเทศแรก ที่ได้นำเสนอแนวความคิดการทำสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Warfare ) มาใช้ในการพัฒนากองทัพ ตั้งแต่เมื่อประมาณ ๑๗ ปีที่แล้ว (.. ๒๕๓๙ ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการทางทหารต่าง ๆ ด้วยการต่อเชื่อมระบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เผยแพร่แนวความคิดในการพัฒนากองทัพให้มีขีดความสามารถในการทำการรบ โดยใช้ระบบศูนย์กลางเครือข่าย ( Network Centric ) ซึ่งมีหลักการทำงานดังนี้ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ( Data Exchange )  การตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน            ( Shared Situation Awareness ) การปฏิบัติการที่ประสานสอดคล้องมีความรวดเร็วในการสั่งการและควบคุมบังคับบัญชา ( Co-operations ) และการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ ( Efficiency Operations )
การพัฒนาทางการทหารที่นำไปสู่ สงครามที่ใช้เครือขายเป็นศูนย์กลาง มีที่มาจากอิทธิพลของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ การดำเนินการธุรกิจ และ แนวคิดเรื่อง องคกรสมัยใหม่ ทั้งนี้มีความเชื่อมโยงของประเด็นหลักๆ ประเด็น คือ
๑. การเปลี่ยนกระบวนทัศนจาก การรวมศูนยสั่งการไปสู่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง      ( Unified Command to Network Centric )
๒ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก การมีอิสระในตัวเอง เปนการเป็นสวนหนึ่งที่ตองปรับตัวอยางตอเนื่องในระบบที่เปนพลวัติ ( Freedom to Dynamic Adaptation )
๓. ความสำคัญของการเลือกทางยุทธศาสตร ที่มีการปรับตัวหรือเพื่อสรางความอยู่รอดจากผลของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดลอม ที่แม้แต่เปนเรื่องเล็กนอย ซึ่งอาจสงผลอยางใหญหลวง ( Environment Adaptation )
กองบัญชาการกองทัพไทย มีแนวความคิดใน การสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง             ( Network Centric Warfare ) โดยได้จัดตั้ง ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ขึ้นมา เพื่อบูรณาการระบบควบคุมบังคับบัญชา ( C4I ) ของเหล่าทัพต่างๆ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสามารถมองเห็นข้อมูลและภาพสถานการณ์ในเวลาเดียวกัน เพื่อการตกลงใจ และสั่งการปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และทันเวลา โดยวางระบบเครือข่ายไปยังศูนย์ปฏิบัติการ ( ศปก. ) ของแต่ละเหล่าทัพ ซึ่งแนวคิดดังกล่าว เป็นเพียง การรวมศูนยสั่งการ  ( Unified Command ) ไปยังเหล่าทัพ โดยที่แต่ละเหล่าทัพยังไม่สามารถรับรู้ข้อมูลและสถานการณ์ร่วมกันได้ เนื่องจากระบบควบคุมบังคับบัญชา ( C4I ) ของแต่ละเหล่าทัพมีความแตกต่างกัน ยกเว้นระบบสื่อสารและระบบการประชุมทางไกล ( Video Telephone Conference : VTC )
กองทัพอากาศ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) และจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อนำไปสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค ( One of The Best Air Forces in ASEAN ) โดยกำหนดยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ในระยะ ๑๐ ปี ตั้งแต่ ๒๕๕๒-๒๕๖๒ แบ่งการพัฒนาออกเป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ เป็นการมุ่งนำเอาเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือในการเตรียมกำลัง และใช้กำลังทางอากาศ เพื่อก้าวสู่การเป็น กองทัพอากาศยุคดิจิตอล ( Digital Air Force ) และเพื่อพัฒนากองทัพอากาศไทยไปสู่เครือข่าย ตามแผนโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง          ( Network Centric Operations : NCO )
ระยะที่ ๒ ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๘ เป็นการพัฒนากองทัพอากาศไปสู่ กองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Air Force ) มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบ รวมถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในยุคสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Warfare : NCW )
ระยะที่ ๓ ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๒ กองทัพอากาศจะมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และแนวคิดการปฏิบัติการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations : NCO ) ในการปฏิบัติการรบและปฏิบัติการที่มิใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทัพเรือ กับการพัฒนาสู่การสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Warfare ) นับว่าอยู่ในขั้นตอนที่กำลังดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ และโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ และสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีการพัฒนาแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. การพัฒนาด้านองค์บุคคล โดยการฝึกอบรม สัมมนา ความรู้ และการสร้างความตระหนักด้านการรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศ
๒. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ โดยการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือให้สอดคล้องกับความต้องการทางยุทธการและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดตั้งศูนย์ประสานงานสงครามสารสนเทศ
๓. การพัฒนาด้านการควบคุมบังคับบัญชาและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการปรับปรุงระบบสื่อสารและการควบคุมสั่งการ และการพัฒนาด้านสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare )
กองทัพบก เริ่มมีแนวความคิดด้าน การสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Warfare )  โดยได้ประกาศให้ปี ๒๕๕๗ เป็น “ ปีแห่งการเตรียมความพร้อมกองทัพบกไปสู่อนาคต ” และกำหนดทิศทางการพัฒนากองทัพบก ให้มีความพร้อมสู่อนาคต ในด้านความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี โดยให้ทุกสายงานพิจารณานำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้ในกระบวนการทำงาน หรือพัฒนาหน่วยงาน เพื่อให้มีความทันสมัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ สถานที่ มุ่งสู่การเป็นกองทัพที่ทันสมัย มีมาตรฐานในระดับสากล และเป็นที่ยอมรับของมิตรประเทศ นอกจากนี้กองทัพบกยังได้เตรียมความพร้อมไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations ; NCO ) ดังนี้
๑. การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกองทัพบก ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ เพื่อมุ่งสู่ การพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations ; NCO )
๒. การกำหนดแนวความคิดในการปรับปรุง/เปลี่ยนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปสู่ระบบดิจิตอล หรือที่เรียกว่า กองทัพบกยุคดิจิตอล( Digital Army )
๓.  การกำหนดแนวความคิดในการพัฒนาระบบโครงข่ายการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี มุ่งไปสู่การสื่อสารข้อมูล ( Data Communication ) เพื่อรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธิวิธี
๔. การกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ         ( Cyber Security ) และระบบเครือข่ายภายในของกองทัพบก
๕. การเตรียมการจัดตั้งหน่วย หรือ ปรับความรับผิดชอบงานสายวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีศักยภาพ สามารถปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations ; NCO )
สรุป การพัฒนาองค์กรในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric ) ถือเป็นกระแสแนวโน้ม ( Trend ) ของโลกปัจจุบันและในอนาคตที่กำลังมาแรง เพื่อการพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันโดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่าย ยุค 3G และ 4G ที่ทำให้การเชื่อมต่อ และการสื่อสารระหว่างองค์กร และบุคคล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วทันเวลา 
ในด้านวงการทหาร การพัฒนากองทัพเพื่อไปสู่ การสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง             ( Network Centric Warfare ) โดยเฉพาะของกองทัพไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของประเทศ ต่างกำลังเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน แต่ก็ยังมีความแตกต่างในด้านความเจริญก้าวหน้าของการพัฒนา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรที่จะมองเห็นความสำคัญมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามพอจะถือได้ว่า กองทัพไทยรวมถึงเหล่าทัพต่างได้มีการเตรียมความพร้อมและกำลังเร่งดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว บางองค์กรเป้าหมายอยู่ในขั้นการรวมศูนยสั่งการ ( Unified Command ) บางองค์กรเป้าหมายอยู่ในขั้นสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare ) บางองค์กรเป้าหมายอยู่ในขั้นปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations ; NCO ) และบางองค์กรเป้าหมายอยู่ในขั้นการสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง             ( Network Centric Warfare ; NCW ) โดยเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนากองทัพ คือ การสร้างเสริมกำลังกองทัพให้มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการปฏิบัติการทางทหารและปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม       ( Military Operations Other Than War ; MOOT War ) ตลอดจนความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเอง

บรรณานุกรม
กองทัพบก ,  “ ๒๕๕๗ เป็นปีแห่งการเตรียมความพร้อมกองทัพบกสู่อนาคต”,  กรุงเทพฯ , ๒๕๕๖
ชเนนทร์ สุขวารี,น..,  “ บทบาทของกองทัพอากาศกับ Network Centric Warfare”, กรุงเทพฯ . ๒๕๕๕
วิสันติ สระศรีกา,พ.อ. ,“ สงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Warfare )”, กรุงเทพฯ, ๒๕๕๕
ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์, พล.ร.ท.  กองทัพเรือกับการพัฒนาสู่การสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นกลาง”, กรุงเทพฯ,๒๕๕๔
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ( องค์การมหาชน ) กระทรวงกลาโหม, “ เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ”        กรุงเทพฯ, ๒๕๕๔

----------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น