วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการพัฒนากองทัพบกไปสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( NCO )

แนวทางการพัฒนากองทัพบกไปสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
( Army Solutions to Network Centric Operations )
โดย พันเอก ฤทธี  อินทราวุธ
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร

ปัจจุบันถือได้ว่า ข้อมูลสารสนเทศ ( Information ) ซึ่งหมายถึง ข้อมูลดิจิตอล ( Digital Data ) อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ขององค์กรภาครัฐและธุรกิจเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการปฏิบัติงาน และสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคไร้พรมแดน ( Borderless Age ) ทำให้องค์กรต่างๆ มีความตื่นตัวในด้านการพัฒนาองค์กร เพื่อจะก้าวให้ทันกับสภาวะแวดล้อมของโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความเจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology ; IT ) ทำให้เกิดการกระจายของข้อมูลข่าวสาร และนำไปสู่โอกาส รวมถึงความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นความท้าทายขององค์กรสมัยใหม่ ที่จะต้องมีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า เพื่อไม่ให้ตนเองตกอยู่ในสภาวะถูกทิ้งท้ายไว้ข้างหลัง
นอกเหนือจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ความเจริญเติบโตในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ( Telecommunication ) ในยุค 3G และ 4G ประกอบกับเทคโนโลยีด้านเครือข่าย     ( Network Technology ) ยังช่วยขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และทั่วถึงทุกมุมโลก ทำให้องค์กรสมัยใหม่หันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาองค์กรไปสู่การใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric ) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรย่อยๆ และผู้ใช้งานที่กระจัดกระจายไปทั่วทุกมุมโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และการปฏิบัติงานที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง  ( Network Centric Operations ; NCO )
กองทัพบก เริ่มมีแนวความคิดด้าน การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations ; NCO  )  โดยได้ประกาศให้ปี ๒๕๕๗ เป็น “ ปีแห่งการเตรียมความพร้อมกองทัพบกไปสู่อนาคต ” และ
กำหนดทิศทางการพัฒนากองทัพบก ให้มีความพร้อมสู่อนาคต ในด้านความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี โดยให้ทุกสายงานพิจารณานำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้ในกระบวนการทำงาน หรือ พัฒนาหน่วยงาน เพื่อให้มีความทันสมัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ สถานที่ มุ่งสู่การเป็นกองทัพที่ทันสมัย มีมาตรฐานในระดับสากล และเป็นที่ยอมรับของมิตรประเทศ นอกจากนี้ กองทัพบกยังได้เตรียมความพร้อมไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ดังนี้
๑. การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกองทัพบก ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ เพื่อมุ่งสู่ การพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
๒. การปรับปรุง/เปลี่ยนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปสู่ระบบดิจิตอล     ( Digital ) หรือที่เรียกว่า กองทัพบกยุคดิจิตอล ( Digital Army )
๓.  การพัฒนาระบบโครงข่ายการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี มุ่งไปสู่การสื่อสารข้อมูล ( Data Communication ) เพื่อรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธิวิธี ( Tactical Data Link ; TDL ) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
๔. การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ ( Information Security ) และระบบเครือข่ายภายในของกองทัพบก
๕. การเตรียมการจัดตั้งหน่วย หรือ ปรับความรับผิดชอบงานสายวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีศักยภาพ สามารถปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนาองค์กรไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสะดวกในการใช้งาน มีความถูกต้องของข้อมูล มีความรวดเร็วทันเวลา มีความปลอดภัย สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ และสามารถกระจายการใช้งานไปอย่างกว้างขวางไร้ขีดจำกัด จะต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานหลักที่สำคัญ มีอยู่ ๕ ปัจจัย คือ ข้อมูลสารสนเทศ หรือ ข้อมูลดิจิตอล ( Digital Data ) , การสื่อสารระบบดิจิตอล ( Digital Communication ) , เครือข่าย ( Network ) , ระบบงาน ( Applications) และการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ( Cyber Security )
ดังนั้น แนวทางการพัฒนากองทัพบกไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง  เพื่อการสร้างเสริมกำลังกองทัพให้มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการปฏิบัติการทางทหารและปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม                ( Military Operations Other Than War ; MOOT War ) ตลอดจนความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จของการดำเนินการพัฒนากองทัพบกไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง อยู่ที่การแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมีแบบแผน มีขั้นตอน และมีความต่อเนื่องในการพัฒนา จึงควรพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนี้
๑. การพัฒนาไปสู่ กองทัพบกดิจิตอล ( Digital Army ) เป็นการพัฒนา ปรับปรุง/เปลี่ยนผ่าน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปสู่ ระบบดิจิตอล  ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเอกสารทางราชการต่างๆ ที่มีอยู่ในรูปแบบกระดาษเอกสาร ( Paper ) ไปสู่รูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  ( e-Document ) หรือ ข้อมูลดิจิตอล ( Digital Data ) ที่เรียกกันว่า ข้อมูลสารสนเทศ ( Information ) โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ
๑. ขั้นการวางแผนและออกแบบการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ และเป็นมาตรฐาน ให้สามารถเชื่อมโยง ใช้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนกันทางระบบสารสนเทศ
๒. ขั้นการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นตามระเบียบงานสารบรรณ มีความถูกต้อง สมบูรณ์ ทันสมัย และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว
๓. ขั้นการใช้งานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยการกำหนดระเบียบปฏิบัติ และขั้นตอนการทำงาน ให้มีมาตรฐานแบบเดียวกัน
การพัฒนา ปรับปรุง/เปลี่ยนผ่าน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปสู่ ระบบดิจิตอล  รวมถึง การเปลี่ยนแปลงระบบสื่อสารแบบอนาล็อก ( Analog ) ไปสู่ระบบสื่อสารแบบดิจิตอล         ( Digital ) หรือที่เรียกกันว่า สัญญาณดิจิตอล ( Digital Signal ) เพื่อรองรับ ระบบสื่อสารข้อมูล ( Data Communication ) ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพบกยุคดิจิตอล ( Army Digital )
๒. การพัฒนาปรับปรุงระบบเครือข่ายเพื่อรองรับระบบสื่อสารข้อมูล ( Data Communication ) เป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายต่างๆ ( Infrastructure ) ที่มีอยู่ เพื่อให้มีขีดความสามารถสามารถรองรับ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๑. ขั้นการตรวจสอบสภาวะแวดล้อมด้านเครือข่าย ( Network Environmental    Scanning ) เป็นการสำรวจตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและสถานภาพของโครงสร้างพื้นฐาน( Infrastructure ) ของระบบเครือข่ายต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนแผนในอนาคต เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ ปริมาณ และสถานภาพโครงข่ายที่มีอยู่ ว่ามีจำนวนปริมาณพอเพียง ครอบคลุม และมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะรองรับต่อการใช้งานหรือไม่ รวมถึงความเป็นไปได้ในการบูรณาการเครือข่ายต่างๆ ที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
๒. ขั้นการวิเคราะห์และออกแบบโครงข่าย ( Network Analysis and Design ) เพื่อให้โครงข่าย           ( Network ) มีจำนวน ปริมาณ คุณภาพ พอเพียง ครอบคลุม และมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะรองรับต่อการใช้งาน และการเชื่อมโยงไปยังหน่วยต่างๆ และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และไม่เกิดความซ้ำซ้อน ตลอดจนการเชื่อมโยงกับโครงข่ายภายนอก เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้
๓. ขั้นการบูรณาการด้านโครงข่าย ( Network Integration ) เพื่อบูรณาการโครงข่ายที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอก ทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยการแสวงหาความร่วมมือเพื่อจัดทำ บันทึกข้อตกลง หรือ บันทึกความเข้าใจ   ( Memorandum of Understanding ; MOU ) ในการใช้งานร่วมกัน หรือ การบริการเช่าใช้จากภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง          
๓. การพัฒนาระบบงานเพื่อรองรับการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ( Network Centric Operations ; NCO ) เพื่อสร้างเสริมหน่วยและกำลังกองทัพให้มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการปฏิบัติการทางทหารและปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม ( MOOT War ) ตลอดจนความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการบูรณาการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานยามปกติ ( MIS ) , ระบบควบคุมบังคับบัญชา ( C4I ) และระบบงานอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ตามหน่วยต่างๆ เช่น ระบบศูนย์ข่าวอัตโนมัติ กองทัพภาคที่ ๒ , ระบบส่งกำลังบำรุงของกองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ , ระบบกองพันอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Battalion )  และระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสายงานกำลังพล ( Personal Data Exchange ; PDX ) เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม ทั้งระบบงานบนคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ( PC ) และบนอุปกรณ์พกพา ( Mobile Applications ) เพื่อให้สามารถตอบสนองการปฏิบัติการของภารกิจต่างๆ ได้ครบถ้วนและครอบคลุมทุกด้าน ไม่เกิดความหลากหลาย และการทำงานที่ซ้ำซ้อน สามารถลดขั้นตอนในการปฏิบัติให้สั้นลงอย่างมีประสิทธิภาพ และมีเอกภาพในการบริหารจัดการทั้งระบบงานและฐานข้อมูล รวมถึงความง่าย สะดวก และปลอดภัยในการใช้งานด้วยระบบการเข้าถึงการใช้บริการของระบบทั้งหมดได้ด้วยการพิสูจน์ตัวตนเพียงครั้งเดีย ( Single sign on )
๔. การเตรียมความพร้อมรับมือสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare ) เป็นการพัฒนาขีดของหน่วยงานด้านสารสนเทศของกองทัพบกทุกระดับ โดยเฉพาะการจัดตั้งหน่วยงานด้านไซเบอร์ของกองทัพบก ( Army Cyber Command  ) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านไซเบอร์ ( Cyber Security Operations Center ; CSOC ) ให้มีขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ( Cyber Security ) ของกองทัพบก ทั้งระบบสารสนเทศและเครือข่าย ให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อการรับมือต่อภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ( Cyber Threats ) รวมถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare ) ในอนาคต มีสร้างความตระหนัก และการพัฒนากำลังพลทุกระดับ ให้ศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
นอกจากขั้นตอนการพัฒนากองทัพบกไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ดังที่กล่าวมาแล้ว กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาฯ ดังกล่าว คือ องค์กรขับเคลื่อนนโยบาย ซึ่งปัจจุบันกองทัพบกมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกองทัพบก , อนุกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศกองทัพบก ( MIS ) และอนุกรรมการพัฒนาระบบควบคุมบังคับบัญชา ( C4I ) กำกับดูแลด้านนโยบายฯ มี กรมฝ่ายเสนาธิการ กำกับดูแลในฐานะฝ่ายอำนวยการ และมีศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร ในฐานะฝ่ายกิจการพิเศษ กำกับดูแล และดำเนินการด้านเทคนิค แต่การดำเนินการที่ผ่านมา ยังมีความสับสนในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการดำเนินการด้านเทคนิค ซึ่งหลายหน่วยมักจะดำเนินการเอง ทำให้ขาดความเป็นมาตรฐาน เกิดความหลากหลาย ซ้ำซ้อน ไม่สามารถใช้งานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้  ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีเอกภาพ และขาดประสิทธิภาพในการใช้งานเท่าที่ควร
ดังนั้น แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนากองทัพบกไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ด้านองค์กรการบริหาร กำกับการ และการดำเนินการ ควรมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจน โดยให้หน่วยงานที่มี ภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบดำเนินการด้านเทคนิคโดยตรง รับผิดชอบในการดำเนินการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง และการรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ ( Cyber Security ) ของกองทัพบก เป็นการเร่งด่วนโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความเป็นมาตรฐาน สามารถใช้งานร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้  ไม่เกิดความหลากหลายซ้ำซ้อน สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพในการใช้งาน ทั้งนี้รวมถึงการวางแผน และการดำเนินการพัฒนากำลังพลทุกระดับ ให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง และการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ( Cyber Security )
สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศ ( MIS ) ของกรมฝ่ายเสนาธิการที่รับผิดชอบในแต่ละสายงานฝ่ายอำนวยการ ซึ่งมีกองสารสนเทศของหน่วย รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในกรม หากมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ทั้งฝ่ายอำนวยการ และผู้ปฏิบัติด้านเทคนิคได้ จะดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ ( MIS ) ของสายงานฝ่ายอำนวยการด้วยตนเอง ก็สามารถดำเนินการได้เฉพาะงานสารสนเทศเพื่อการบริหารงานยามปกติ ที่เป็นงานธุรการปกติประจำ ( Routine )  หรือจะทำหน้าที่เป็นเพียงเฉพาะฝ่ายอำนวยการ ส่วนการปฏิบัติงานด้านเทคนิค อาจจะมอบหมายให้หน่วยงานที่มี ภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบดำเนินการด้านเทคนิคโดยตรง รับผิดชอบในการดำเนินการก็ได้ ทั้งนี้จะต้องมีความชัดเจนในการแบ่งมอบหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ และความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ
การกำหนดนโยบายในการแบ่งมอบหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดำเนินการที่มีความชัดเจน และมีความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ จะเป็นหลักประกันความสำเร็จที่สำคัญประการแรกในการขับเคลื่อนการพัฒนากองทัพบกไปสู่ การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง

-----------------------------------------

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

๒๕๕๗ ปีแห่งการเตรียมความพร้อมกองทัพบกไปสู่อนาคต

๒๕๕๗ ปีแห่งการเตรียมความพร้อมกองทัพบกไปสู่อนาคต
(  The Royal Thai Army's Preparatory Year Towards the Future )
โดย พันเอก ฤทธี  อินทราวุธ
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร

นับถอยหลังอีกเพียงหนึ่งปีเท่านั้น ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน อย่างเต็มรูปแบบ ตามที่ได้มีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกัน ให้สำเร็จภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. 2015) เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ  ระดับโลก
กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ไทย  พม่า ลาว เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน  ต่างก็ได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรองรับความร่วมมือ ความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ในด้านต่างๆ ทั้ง ๓ ประชาคมย่อย ซึ่งได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community :APSC) , ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economics Community :AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN  Socio - Cultural Community : ASCC)
ประเทศไทย หนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน ก็ได้มีการเตรียมการและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ของ องค์กร หน่วยงาน ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของประชาชนคนไทย มาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน  ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และด้านความมั่นคง เพื่อรองรับโอกาส ( Opportunity ) วิกฤติ ( Critical ) และความท้าทาย ( Challenge ) จากการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ทั้งด้านความร่วมมือ ด้านการยอมรับ ด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านความแข็งแกร่ง ด้านภูมิคุ้มกันและภูมิต้านทานที่ดี เพื่อการรับมือกับปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ   
กองทัพบก ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของประเทศหน่วยงานหนึ่ง ได้มีการเตรียมการและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่นกัน โดยได้ดำเนินการพัฒนาและขับเคลื่อนกองทัพบกในแต่ละปีมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านการฝึก และด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้มีความพร้อม โดยในปี ๒๕๕๔ ได้
กำหนดให้เป็นปีแห่งการพัฒนาการของกองทัพบกต่อมาในปี ๒๕๕๕ ได้กำหนดให้ เป็นปีแห่งการพัฒนาบุคลากรของกองทัพบกและในปี ๒๕๕๖ ได้กำหนดให้ เป็นปีแห่งการพัฒนาการบริหารจัดการและการฝึกที่มุ่ง
สู่ผลสัมฤทธิ์  สำหรับในปี ๒๕๕๗ ได้กำหนดทิศทางการพัฒนากองทัพบก ให้มีความพร้อมสู่อนาคต ในด้านความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี โดยให้ทุกสายงานพิจารณานำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการทำงาน หรือพัฒนาหน่วยงาน เพื่อให้มีความทันสมัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ สถานที่ มุ่งสู่การเป็นกองทัพที่ทันสมัย มีมาตรฐานในระดับสากล และเป็นที่ยอมรับของมิตรประเทศ
การเตรียมความพร้อมของกองทัพบกในปี ๒๕๕๗  สู่อนาคต ในด้านความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี นับเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเฉียบแหลมของผู้นำกองทัพ ซึ่งมองเห็นความสำคัญในด้านเทคโนโลยี และปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และมีมากมายหลากหลายสาขา สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม ทั้งด้านการพัฒนาโครงสร้างการจัดองค์กรหน่วยงานให้มีความเหมาะสม กะทัดรัด คล่องตัว และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ไม่เกิดความซ้ำซ้อน สับสน เทอะทะ อุ้ยอ้าย ลุ่มลาม และความสิ้นเปลือง ด้านการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการและการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความสะดวก ความถูกต้อง ความรวดเร็ว และความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ด้านการพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีความรู้ ความสามารถ มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบ และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology ) นับเป็นกุลแจสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัยและเกิดประสิทธิภาพ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในด้านการบริหารจัดการ ( Management ) ด้านกระบวนการทำงาน ( Process ) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Development ) ด้านสวัสดิการและการบริการตนเอง ( Welfare and Self Service ) องค์กรใดสามารถนำเอาข้อมูลสารสนเทศมาใช้งานได้อย่างเต็มที่ ก็จะสามารถบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว ความสะดวก ความถูกต้อง ความรวดเร็ว และเกิดความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และผู้บริหารองค์กรใดสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจในการบริหารงาน ของผู้บริหาร ( Executive Decision Support ) ขององค์กรอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้ทราบถึงสถานภาพ ขีดความสามารถ และประสิทธิภาพขององค์กร ว่ามีความมั่นคง ความเจริญก้าวหน้า ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวอย่างไร ทราบถึงศักยภาพของบุคลากร ว่าใครมีความรู้ ความสามารถ มีความเหมาะสมกับงานหรือไม่เพียงใด และสามารถบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนา ปรับปรุง โครงสร้างองค์กร และการปรับเปลี่ยนบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน ( Put the right man to the right job ) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพขององค์กรให้สูงยิ่งขึ้น มีความสามารถในการแข่งขัน มีมาตรฐานการทำงานในระดับสากล มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับคนทั่วไป
ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรจะต้องนำมาใช้ให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านสวัสดิการและการบริการตนเอง เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจ สั่งการ ติดตาม ควบคุม และกำกับดูแลองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา ด้านกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ ระเบียบ และมีแบบแผน เพื่อให้การทำงานมีมาตรฐาน มีความถูกต้อง เที่ยงตรง และเป็นไปตามกำหนดเวลา ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และความสิ้นเปลืองแรงงานคน ทรัพยากร และงบประมาณ  ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับได้รับการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนความเจริญก้าวหน้า และการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม จากผู้บริหารฯ ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลสารสนเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น ส่วนด้านสวัสดิการและการบริการตนเองนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ในองค์กร สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ต่างๆ สามารถเข้าถึงการบริการและสวัสดิการต่างๆ ตามสิทธิผ่านระบบสารสนเทศด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่บริการ มีแต่หน้าจอคำแนะนำขั้นตอนการใช้บริการแบบตู้กดเงิน ATM เท่านั้น เพื่อลดงานด้านธุรการขององค์กร และเป็นการพัฒนาเสริมสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบของตนเอง ตลอดจนเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
นอกจากการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาองค์กรแล้ว เรายังสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการและประยุกต์ใช้กับงานสำคัญในด้านต่างๆ ทางทหาร ได้อย่างเหมาะสม และทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ด้านการส่งกำลังบำรุง ( Logistic ) ด้านการปฏิบัติการทางทหาร    ( Military Operations ) และด้านการฝึกศึกษา ( Training and Education )
ระบบส่งกำลังบำรุง ( Logistic System ) นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีสถานที่ตั้งของหน่วยย่อยกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง การส่งกำลังบำรุงจะต้องมีเสถียรภาพ ความมั่นคง ปลอดภัย ความต่อเนื่อง และทันเวลา ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการตรวจสอบ การควบคุมสถานภาพ และการขนส่งที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดสภาพความขาดแคลน ความคับคั่ง และความสิ้นเปลือง ดังนั้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในงานด้านส่งกำลังบำรุง และการเคลื่อนย้ายกำลังในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ จึงมีความเหมาะสม โดยเฉพาะการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์  ( Centralization Management ) เพื่อสามารถตรวจสอบ ควบคุมสิ่งอุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยย่อยทั่วประเทศ ให้อยู่ในสถานภาพความพร้อมรบ พร้อมใช้งาน และสามารถระดมทรัพยากรได้อย่างทันเวลาตามความต้องการ นอกจากนี้การเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะด้านภูมิสารสนเทศ ( Geo Informatics System ; GIS ) และการใช้อุปกรณ์แสดงตำแหน่งบนพื้นผิวโลก  ( Global Positioning System ; GPS ) จะช่วยในการวางแผน ควบคุม กำกับ ดูแลการเคลื่อนย้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ตรงเวลา ปลอดภัย ลดความสิ้นเปลือง และความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
การปฏิบัติการทางทหาร ( Military Operations ) ในยุคปัจจุบันซึ่งจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม ( Military Operations Other Than War ; MOOTW )  จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการและประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางทหารต่างๆ เช่น ระบบลาดตระเวน ( Reconnaissance  System ) ระบบเฝ้าตรวจ ( Surveillance System ) ระบบตรวจดักจับ ( Sensor System ) ระบบควบคุมระยะไกล ( Remote Control  System ) ระบบรับ-ส่งข้อมูลดาวเทียม ( Remote Sensing System ) ระบบอาวุธอัตโนมัติ ( Automatic Weapon System ) และระบบควบคุมบังคับบัญชา ( C4I System ) เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศจากระบบต่างๆ มาประมวลผล หรือแสดงภาพให้สามารถเห็นภาพพื้นที่ปฏิบัติการ สามารถติดตามสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เกิดความได้เปรียบต่อฝ่ายตรงข้าม สามารถควบคุม สั่งการ และปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ สามารถป้องกันหรือลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ที่สำคัญการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาใช้งาน จะต้องไม่เป็นภาระเกินความจำเป็นต่อผู้ปฏิบัติงาน
การเตรียมความพร้อมของกองทัพ นอกจากการเตรียมกำลังรบ ในด้านองค์กรและยุทโธปกรณ์แล้ว การเตรียมกำลังคน ( Man Power ) นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการและประยุกต์ใช้กับงานด้านการฝึกศึกษา ( Training and Education ) เพื่อเตรียมความพร้อมของกำลังคนนั้น ถือเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมมากหนทางหนึ่งในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการองค์ความรู้     ( Knowledge Management ; KM ) ขององค์กร เพื่อรวบรวมความรู้และประสบการณ์ต่างๆ มาสร้างเป็นองค์ความรู้ เผยแพร่ และถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ไปยัง รุ่นสู่รุ่น สืบทอดต่อเนื่องกันไป
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการศึกษา การเรียน การสอน ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ โดยเฉพาะระบบการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e - Learning )  จะช่วยให้เกิดการพัฒนาการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มและสถานการณ์ของโลก เป็นการเปิดช่องทางและโอกาสในการเข้าสู่ระบบการศึกษาได้กว้างขวางไร้ข้อจำกัด ด้านเวลา สถานที่ และระยะทาง ( any where any time ) ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถเรียน ทบทวน ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก โดยใช้เวลานอกราชการ และผู้ที่สนใจศึกษาสามารถศึกษาในรูปแบบสหวิทยาการ ได้อย่างหลากหลายสาขาวิชา หลายๆ หลักสูตรพร้อมๆ กันในห้วงเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามแนวทางรับราชการ และในอนาคตบางหลักสูตรสามารถนำหน่วยกิตการศึกษาไปเทียบโอนกับหลักสูตรในสถาบันการศึกษาภายนอก ที่มีข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามหลักสูตรเพิ่มพูน คุณวุฒิ หรือ วิทยฐานะ
การฝึกปฏิบัติการ และการซ้อมรบ นับเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของหน่วยทหาร ซึ่งจะต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติการยุทธ์ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการฝึกทั้งระดับบุคคล และระดับหน่วย ตั้งแต่ การฝึกยิงปืนเลเซอร์ ( Laser Gun ) ซึ่งสามารถแสดงผลการยิงรายบุคคล และประมวลผลสถิติเป็นรายหน่วย เพื่อการประเมินขีดความสามารถ สมรรถนะ ความแม่นยำ และศักยภาพของหน่วยในด้านการใช้อาวุธประจำกาย การฝึกประลองยุทธ์ด้วยปืนเลเซอร์ ( War Game ) เพื่อการประเมินขีดความสามารถ สมรรถนะ และศักยภาพในการปฏิบัติการรบของหน่วย การฝึกแก้ปัญหาที่บังคับการ       ( Command Post Exercise ; CPX ) ด้วยระบบจำลองยุทธ์ ( Battle Simulation System ) เป็นการฝึกจำลองสถานการณ์รบด้วยระบบสารสนเทศ เพื่อการแก้ปัญหาของผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการ เพื่อการประเมินความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และศักยภาพในขั้นตอนกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ ในการรบ รวมถึงการตัดสินใจของผู้บังคับหน่วย ระบบจำลองยุทธ์บางระบบ นอกจากจะใช้ในทดสอบและประเมินผลการปฏิบัติของผู้บังคับหน่วย ฝ่ายอำนวยการ และเจ้าหน้าที่กองบังคับการแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินแผนยุทธการต่างๆ ว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้เพียงใด ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้ในการฝึกความชำนาญในสถานการณ์รูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการฝึกฯดังกล่าว สามารถทำการฝึกซ้ำๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และความชำนาญ โดยไม่ต้องใช้กระสุนจริง ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังพลแสดงเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเดียวกันเต็มรูปแบบ ไม่ต้องเคลื่อนย้ายหน่วย ยุทโธปกรณ์ และกำลังพล ไปฝึกซ้อมในสนาม ไม่ต้องห่วงสภาพ ลม ฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการฝึกซ้อมจริง ที่สำคัญ ข้อมูลการฝึกต่างๆ ทั้งระดับบุคคลและหน่วย ด้วยระบบสารสนเทศจะถูกเก็บบันทึก และสามารถนำมาตรวจสอบ นำมาอ้างอิง หรือใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ตลอดเวลา
ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของกองทัพบกในปี ๒๕๕๗  สู่อนาคต โดยเฉพาะในปี ๒๕๕๘ ซึ่งประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ตามที่ได้มีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันนั้น ทิศทางการพัฒนากองทัพบกให้มีความพร้อมสู่อนาคต ในด้านความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี โดยให้ทุกสายงานพิจารณานำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการทำงาน หรือพัฒนาหน่วยงาน เพื่อให้มีความทันสมัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ และสถานที่ จึงควรพิจารณานำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมของกองทัพเป็นลำดับแรก เพื่อมุ่งสู่การเป็นกองทัพที่ทันสมัย มีมาตรฐานในระดับสากล และเป็นที่ยอมรับของมิตรประเทศ

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิถีชีวิตสมัยใหม่ สู่สไตล์ กองทัพอัจฉริยะ (Smart Life 2 Smart Army)

วิถีชีวิตสมัยใหม่ สู่สไตล์ กองทัพอัจฉริยะ
 ( Smart Life 2 Smart Army )
โดย พันเอก ฤทธี  อินทราวุธ
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร

ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปัจจุบัน เรามักได้ยินคำว่า “ Smart” ถูกนำมาใช้กับเครื่องมืออุปกรณ์ หรือ องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบัตรอัจฉริยะ ( Smart Card ) , โทรศัพท์อัจฉริยะ ( Smart Phones )  , โทรทัศน์อัจฉริยะ ( Smart TV ) , สำนักงานอัจฉริยะ ( Smart Office ) , จังหวัดอัจฉริยะ ( Smart Province ) , ประเทศไทยอัจฉริยะ
( Smart Thailand ) เป็นต้น ซึ่งความหมายของมัน เรามักจะเอามาใช้เสริมเพิ่มเติมคำอื่นๆ เพื่อให้มันดู เท่ห์ ฉลาด อัจฉริยะ อะไรทำนองนั้น โดยเนื้อหาสาระหรือรูปแบบส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งนี้เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาของโลกในยุคดิจิตอล ( Digital Age ) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของโลก สืบต่อมาจากยุคโลหะ ( Metal Age )  และ ยุคหิน ( Stone Age ) ตามลำดับ
สมัยยุคหิน ( Stone Age ) นั้น มนุษย์ก็นำหินมาใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหาเลี้ยงชีพและใช้ป้องกันภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย ครั้นพอมาถึงสมัยยุคโลหะ ( Metal Age ) มนุษย์ก็นำโลหะต่างๆ เช่น ทองแดง สำริด เหล็ก มาใช้แทนหินในการดำรงชีวิต จนมาถึงปัจจุบันในยุคดิจิตอล ( Digital Age ) มนุษย์ก็นำเอาอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับดิจิตอลต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน ซึ่งเป็นพื้นฐานปกติวิสัยของคนยุคปัจจุบันในด้านความเป็นอยู่ โดยที่ตนเองไม่ทราบว่า วิถีชีวิตแบบธรรมดาสามัญ ( Common Life ) มันกลายเป็น วิถีชีวิตแบบอัจฉริยะ ( Smart Life ) ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
เริ่มตั้งแต่ การปลุกตื่นนอนด้วยนาฬิการะบบ Digital แทนนาฬิการะบบไขลานตีกริ่งเสียงดังจนน่ารำคาญ บางบ้านทำอาหารเช้าก็จะมีเครื่องครัวสมัยใหม่ระบบ Digital เช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องชงน้ำ ชา กาแฟ ฯลฯ แทนการหุงต้มด้วยเตาถ่านหรือเตาแก๊ส พอเอาอาหารวัตถุดิบหรือปรุงสำเร็จรูปมาใส่กดปุ่มตั้งเวลาทิ้งไว้ เอาเวลาที่เหลือไปเก็บเสื้อผ้าใช้แล้วใส่ลงไปในเครื่องซักผ้า-อบผ้าแบบตั้งเวลาอัตโนมัติ แล้วก็ไปแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ทานอาหารเสร็จเรียบร้อย กด Remote ปิด Air Condition , Smart TV แล้วออกบ้านขับรถ ECO Car ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบ Digital ไปส่งลูกที่โรงเรียน ตามเส้นทางการจราจรซึ่งมีป้ายแสดงสภาพการจราจรระบบ Digital ว่าเส้นทางการจราจรคับคั่ง เส้นทางไหนคล่องตัว พอถึงสถานที่ทำงานก็จะสังเกตเห็นป้าย Smart Parking ระบบ Digital แสดงจำนวนที่จอดรถที่ว่างในแต่ละชั้น พอเข้าไปทำงานใน Office สมัยใหม่แบบ Smart Office ก็ใช้ e- Card บันทึกเวลาเข้า-ออกทำงาน ใช้ Computer ทำงาน ส่ง e-mail ใช้ Smart Phone ติดต่องาน เล่น Line สนทนากับเพื่อน เล่น Face Book เพื่อ Update Status ฯลฯ พอเลิกงานขับรถรับลูกจากโรงเรียน แวะซื้อของด้วยบัตรเครดิต   ( Credit Card )  พอกลับถึงบ้าน กด Remote เปิด Air Condition ดู Smart TV เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือ เปิด e-Book จาก Tables มาเล่นสอนหนังสือลูก ทานอาหารเย็น อาบน้ำ เข้านอน วนเวียนซ้ำซากจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน จะเห็นได้ว่าชีวิตวันๆ หนึ่งจะอยู่กับอุปกรณ์ Digital ตลอดเวลา จนกลายเป็น วิถีชีวิตแบบอัจฉริยะ ( Smart Life ) ในยุค Digital
คำว่า “ Smart ”  นอกจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ได้แปลความหมายไว้อย่างหลากหลาย แต่เรามักจะแปลไปในเชิงความหมายว่า ฉลาด , ปราดเปรื่อง , หลักแหลม , เฉียบแหลม , มีไหวพริบ , เก๋ , โก้ , รูปหล่อ , เท่ห์ ฯลฯ และมีพันโท ภูมิสิษฐ์ ชินบุตรวงศ์ ได้ให้ทัศนะด้านความหมายในสื่อออนไลน์ตามที่มาของตัวอักษร ดังนี้
S มาจากคำว่า Specific แปลว่า เฉพาะเจาะจง คือ ให้รู้กันชัดเจน แจ่ม แจ๋วกันไปเลยว่ามันเป็นอะไร
M มาจากคำว่า Measurable คือ วัดผลได้ ก็หมายความว่า เราสามารถเห็นความก้าวหน้าของสิ่งที่เราจะทำได้ทีละขั้นทีละตอน จนบรรลุเป้าหมายผลสำเร็จ มันมีจุดที่จะวัดผลกันได้ว่ามีความก้าวหน้านั่นเอง
A มาจากคำว่า Attainable หรือ Achievable ก็หมายถึงว่า เจ้าสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นสามารถไปเอามาได้หรือในที่สุดแล้ว จะมาอยู่ในมือเราหรือตัวเราได้ ดังนั้นมันจะต้องสามารถทำได้ด้วย
R มาจากคำว่า Realistic แปลว่า เป็นจริง ดูจะคล้ายๆกับ Attainable แต่ต่างกันตรงที่ว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายนี้มันจะต้องเป็นความจริง
T มาจากคำว่า Time-bound ก็คือ Deadline นั่นเอง เป็นจุดของวันและเวลาที่เรากำหนดจะให้ได้มันมา เพราะถ้าไม่กำหนดวันให้แล้ว เราก็จะไม่มีอะไรบังคับว่าจะต้องเร่งรีบ หรือใส่แรงลงไปมากน้อยแค่ไหน
สรุปความหมายง่ายๆ ตามที่มาของคำว่า Smart ”  คือ การเฉพาะเจาะจงใช้กระบวนการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ได้ผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนด
จากพฤติกรรมของคนตามกิจวัตรประจำวันในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า การปรับตัวจากวิถีชีวิตแบบอัจฉริยะ ( Smart Life ) ไปสู่องค์กรอัจฉริยะ ( Smart Organize ) นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือ ยากเย็นแสนเข็นแต่ประการใด โดยเฉพาะแนวความคิดที่จะพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันแทบจะเป็นเรื่องปกติสามัญ เพียงใช้กระบวนการบริหารจัดการต่างๆ ตามความหมายง่ายๆ จากที่มาของคำว่า “ Smart ”  ซึ่งการที่จะพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) ให้บรรลุเป้าหมายเกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามระยะเวลาที่กำหนดนั้น จะต้องเจาะจงใช้กระบวนการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
๑. ขั้นการบูรณาการสารพัดบัตรต่างๆ เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ , บัตรประจำตัวหน่วยงาน , บัตรผ่านเข้า-ออกสถานที่ , บัตรตรวจโรค , บัตรเบิกจ่ายตรงโรงพยาบาล , บัตรสารพัดสมาชิกต่างๆ ของกองทัพ รวมถึงสติกเกอร์ติดรถ จะต้องมีการพัฒนาให้เป็นบัตรอเนกประสงค์ ( Multi – Proposes ID Card ) คือ มีข้อมูลและรูปภาพเพื่อใช้แสดงตน , มีสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ ( Radio Frequency ID ; RF ID ) เพื่อใช้บันทึกในการผ่านเข้า-ออกสถานที่ แบบอัตโนมัติ , มี Micro Ship , Bar Code หรือ มีแถบข้อมูลแม่เหล็ก สำหรับเก็บรหัส ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการใช้งานโปรแกรมการทำงานต่างๆ  ,  มีรหัสสี่เหลี่ยม ที่ เรียกว่า QR Code ซึ่งย่อมาจากรหัส Quick Response เพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลและการเข้าใช้งานผ่านอุปกรณ์มือถือระบบ Smart Phones หรือ Tables รวมถึงการบูรณาการบัตรประจำตัวข้าราชการกับบัตรเครดิต-เดบิตธนาคาร ( Credit & Debit Card ) เป็นต้น ก็จะทำให้บัตรประจำตัวข้าราชการดังกล่าวเพียงบัตรเดียว สามารถใช้งานต่างๆ ที่สำนักงานในกองทัพได้ตลอดทั้งวัน
๒. ขั้นการพัฒนาความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการให้การใช้งานและการบริการของหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพ ซึ่งจะต้องกำหนดกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนทั้งอุปกรณ์ ( Hardware ) , โปรแกรมระบบงาน ( Application ) และระบบเครือข่าย ( Network ) โดยเริ่มจาก ระบบงานบริการกำลังพล , ระบบงานสวัสดิการ , ระบบงานการเงิน , ระบบการทดสอบร่างกาย , ระบบงานการพิจารณาบำเหน็จ ฯลฯ ก่อนที่จะขยายผลไปยังระบบงานอื่นๆ ให้ครอบคลุมทุกสายงานฝ่ายอำนวยการ ตลอดจนการส่งเสริม สงเคราะห์ และสนับสนุนให้กำลังพลทุกระดับสามารถเข้าถึงการบริการสารสนเทศ รวมถึงการมีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเท่าที่จำเป็นสำหรับตนเอง เช่น Tables หรือ Smart Phones และค่าใช้จ่ายการบริการเครือข่าย 3G , WiFi ในราคาสวัสดิการ หรือราคาพิเศษ  เพื่อการเข้าถึงการบริการสารสนเทศและการใช้งานต่างๆ ของกองทัพ
๓. ขั้นการใช้งาน โดยการกำหนดมาตรการ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ ทั้งด้านการใช้งาน และการรักษาความปลอดภัย อย่างชัดเจน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำลังพลทุกนายจะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด เพื่อให้การพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) บรรลุเป้าหมายเกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามระยะเวลาที่กำหนด
๔. ขั้นการติดตามและประเมินผลการใช้งาน โดยการสำรวจความคิดเห็นต่างๆ จากผู้ใช้งานโดยตรง ผ่านระบบสารสนเทศของแต่ละระบบงาน เพื่อติดตามและประเมินผล ทั้งจำนวนและที่ตั้งอุปกรณ์ ( Hardware ) , โปรแกรมระบบงาน ( Application ) , ระบบเครือข่าย      ( Network ) และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๕. ขั้นการขยายผลการใช้งาน เป็นการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้การพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) อย่างเต็มรูปแบบ จากส่วนกลางกระจายการพัฒนาไปยังระดับภูมิภาค คือ กองทัพภาคหรือค่ายทหารอัจฉริยะ ( Smart Camp )  กองพลอัจฉริยะ ( Smart Division )  และลงไปจนถึงระดับท้องถิ่น คือ กองพันอัจฉริยะ ( Smart Battalion ) 
การพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) จะเริ่มตั้งแต่ การขับรถผ่านเข้า-ออกประตูไม้กั้น ด้วยระบบ RF ID แบบ Easy Pass บนทางด่วน Troll way พอเดินเข้าสำนักงาน ประตูก็จะเปิดแบบอัตโนมัติ พร้อมบันทึกเวลา เข้า-ออก พอถึงเวลาทำงาน ก็ใช้บัตรซึ่งมี Micro Ship หรือ แถบข้อมูลแม่เหล็ก เสียบเข้าอ่านที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานโปรแกรมการทำงานต่างๆ  พอพักเที่ยงลงมาทานอาหารกลางวัน ก็ใช้บัตรซึ่งมี Micro Ship เครดิต-เดบิตธนาคาร จ่ายค่าอาหาร ใน Food Cord   หรือจะใช้ซื้อข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ ใน PX  ใช้บัตรกดเบิก ถอน ฝาก โอนเงินจากตู้ ATM พอวันไหนเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ใช้บัตรนี้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ที่ห้องตรวจโรคหรือโรงพยาบาล แทนบัตรตรวจโรคหรือบัตรเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล หากต้องการอยากดูข้อมูลประวัติตนเอง ก็เอาบัตรไปทาบกับเครื่องอ่านข้อมูลจากระบบงานกำลังพล ก็จะเห็นข้อมูลประวัติรับราชการ การศึกษา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชการพิเศษ วันทวีคูณ ฯลฯ เพื่อจะได้วางแผนชีวิตว่าจะอยู่รับราชการต่อ หรือขอเกษียณอายุก่อนกำหนด เพื่อเอายศ เอาเงินตอบแทน อยากจะดูข้อมูลเงินกู้ หนี้สิน หรือเงินออมต่างๆ ของตนทั้งของหน่วยงานและสหกรณ์ออมทรัพย์ ก็เอาบัตรไปแปะที่เครื่องระบบงานสวัสดิการ แบบที่เช็คราคาสินค้าห้างโลตัส ก็จะทราบข้อมูลทันทีว่า หนี้สินเหลือเท่าไร? ใกล้จะหมดงวดรึยัง ? เงินที่เก็บหอมรอมรีบสะสมไว้ ตอนนี้เพิ่มพูนมากน้อยเพียงใด? ถ้าต้องการรู้เงินเดือนล่วงหน้าว่าพอจะเหลือเท่าไหร่? ตอนเงินเดือนออกสิ้นเดือน ก็เอาบัตรไปแปะที่เครื่องระบบงานการเงิน ก็จะทราบข้อมูลสลิปเงินเดือนล่วงหน้าคร่าวๆ พอจะเอาไปวางแผนการเงินในครอบครัวได้บ้างว่าพอจะพาครอบครัวไปทานอาหารมื้อพิเศษ หรือไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดได้ไหม? หรือไม่พอจ่ายค่าเทอมลูก ก็จะต้องเตรียมการวางแผนหาเงินล่วงหน้า เมื่อมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายประจำปี ก็ให้กำลังพลผู้เข้าทดสอบนำบัตรติดตัววิ่งผ่านเครื่องรับสัญญาณ RF ID ก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยวตรง รวมถึงการเอาข้อมูลบันทึกเวลา เข้า-ออก การทำงาน มาใช้ในการพิจารณาบำเหน็จ ความดีความชอบตอบแทนการทำงาน การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น หรือการให้เงินรางวัลโบนัสพิเศษต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
นอกจากนี้ ระบบข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ กำลังพลยังสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านอุปกรณ์ Tables หรือ Smart Phones ส่วนบุคคล ที่เชื่อมผ่านระบบ WiFi ซึ่งติดตั้งกระจายตามจุดต่างๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้การบริการด้านสารสนเทศ โดยการใช้ QR Code ที่ติดกับบัตรประจำตัวในการแสดงตน ( Authentic )  สำหรับการเข้าถึงระบบงานต่างๆ และข้อมูลระบบสารสนเทศของหน่วยงาน รวมถึงการรับข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ผ่านระบบมือถือ เช่นเดียวกับเวลาที่เราไปในสถานที่ต่างๆ มักจะปรากฏข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์โผล่มาในโทรศัพท์มือถือเป็นประจำเมื่อเวลาเปิดสัญญาณ 3G หรือ WiFi ทิ้งไว้
ส่วนระบบ RF ID ที่ติดอยู่ที่บัตร นอกจากจะนำมาใช้งานต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในด้านการรักษาความปลอดภัย ( Security ) โดยติดตั้งจุดรับสัญญาณ RF ID ในเขตพื้นที่หวงห้าม เมื่อมีกำลังพลเดินผ่านก็จะมีสัญญาณแจ้งเตือน เช่นเดียวกับห้างร้านในศูนย์การค้า หรือการเชื่อมกับระบบกล้อง CCTV เพื่อให้บันทึกข้อมูลเหตุการณ์เฉพาะที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อประหยัดเนื้อที่ Hard Disk นอกจากนี้ยังสามารถนำสัญญาณ RF ID มาประยุกต์เชื่อมกับระบบไฟฟ้าในห้องน้ำ หรือห้องทำงานต่างๆ ในการควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟฟ้า จะช่วยในการประหยัดพลังงาน ( Safe Energy ) ของหน่วยงานอีกทางหนึ่ง
ตัวอย่างการใช้งานและข้อมูลสารสนเทศที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นเพียงงานด้านการบริการกำลังพลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้อมูลบางส่วนของกำลังพลที่ถูกบันทึกไว้ในระบบสารสนเทศ จากการผ่านเข้ามา – ออกไป หรือการใช้งานต่างๆ สามารถนำมาบริหารจัดการข้อมูลและการกำหนดสิทธิ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ สามารถเข้าดูหรือตรวจสอบเป็นรายบุคคลว่า ใคร? อยู่ที่ไหน? เมื่อไหร่? และกำลังทำอะไร? , การตรวจสอบสถานภาพกำลังพลประจำวันเป็นรายหน่วย , การตรวจสอบผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกายของกำลังพล , การตรวจสอบสถานภาพหนี้สินกำลังพลของหน่วย , การตรวจสอบประวัติรับราชการ , การตรวจสอบคุณวุฒิหรือความเชี่ยวชาญพิเศษ ฯลฯ ผ่านอุปกรณ์มือถือ เช่น Tables หรือ Smart Phones จากที่ใดก็ได้

ดังนั้น แนวความคิดที่จะพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) จึงไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันแต่ประการใด หากคิดจะเริ่มพัฒนา ก็ควรจะเร่งพัฒนาตั้งแต่ตอนนี้ โดยกำหนดเป้าหมาย ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน แบบค่อยเป็นค่อยไป สิ่งใดที่มีอยู่แล้วในกองทัพพอจะทำได้ ก็กำหนดความเร่งด่วนในการดำเนินการเป็นลำดับแรก สิ่งใดที่มีอยู่ แต่ต้องใช้การพัฒนาปรับปรุงต่อยอดเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็เร่งดำเนินการ สิ่งใดที่ยังไม่มีหรือยังไม่ได้เริ่มทำ ก็กำหนดแผนงานดำเนินการต่อไป เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจะพัฒนากองทัพไปสู่ กองทัพอัจฉริยะ ( Smart Army ) ได้โดยไม่ยาก